Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10015
Title: โมเดลการส่งเสริมเกษตรอัจฉริยะในการผลิตพืชผักของเกษตรกรรุ่นใหม่ในภาคตะวันออกของประเทศไทย
Other Titles: An extension model for smart farming for vegetable production by young smart farmers in Eastern Region of Thailand
Authors: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปริญญารัตน์ ภู่ศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปิญพร บุญเยี่ยม, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
เทคโนโลยีการเกษตร--ไทย (ภาคตะวันออก)
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานการทางเกษตรและการใช้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะในการผลิตพืชผักของเกษตรกรรุ่นใหม่ 2) สภาพการส่งเสริมเกษตรอัจฉริยะในการผลิตพืชผักและวิเคราะห์ สังเคราะห์ สภาพการส่งเสริมเกษตรอัจฉริยะในการผลิตพืชผัก 3) พัฒนาโมเดลการส่งเสริมเกษตรอัจฉริยะในการผลิตพืชผัก และ 4) ประเมินโมเดลการส่งเสริมเกษตรอัจฉริยะในการผลิตพืชผัก การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยแบบผสม ประชากรที่ศีกษา คือ เกษตรกรรุ่นใหม่ที่ประกอบอาชีพทำการเกษตรด้านพืชผักในภาคตะวันออก 352 คน ดำเนินการวิจัยใน 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 กําหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรทาโร ยามาเน ได้กลุ่มตัวอย่าง 188 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพรรณนา ขั้นตอนที่ 2 และ 3 สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีการใช้เทคโนโลยีมากที่สุดตลอดโซ่อุปทานจํานวน 6 คน และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการทําเกษตรอัจฉริยะ 5 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ขั้นตอนที่ 4 สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีการใช้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะมากที่สุด 30 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการทำเกษตรอัจฉริยะ 5 คน เก็บข้อมูลโดยสัมภาษณ์เชิงลีกวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุเละการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรรุ่นใหม่มีอายุเฉลี่ย 39.78 ปี จบการศึกษาปริญญาตรี รายได้เฉลี่ย 13,167.02 บาท/เดือน ส่วนใหญ่ได้รับความรู้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะจากหน่วยงานภาครัฐ มีการผลิตผลิตภัณฑ์พืชผักเป็นผักสด เกษตรกรรุ่นใหม่ ร้อยละ 56.9 มีการใช้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะในระดับน้อยที่สุด รองลงมาร้อยละ 36.2 ใช้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะในระดับน้อย 2) สภาพการส่งเสริมด้านเนี้อหาเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ เกษตรกรรุ่นใหม่ส่วนน้อยได้รับการส่งเสริม โดยมีระดับความรู้ที่ได้รับจากการส่งเสริมอยู่ในระดับน้อยและมีความต้องการการส่งเสริมอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านวิธีการส่งเสริมเกษตรกรรุ่นใหม่ได้รับการส่งเสริมทั้งแบบรายบุคคล แบบกลุ่ม แบบมวลชน และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีระดับความรู้ที่ได้รับจากการส่งเสริมอยู่ในระดับน้อย และมีความต้องการการส่งเสริมอยู่ในระดับมาก โดยเห็นว่า เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะมีประโยชน์ และมีปัญหาการส่งเสริมอยู่ในระดับมากเช่นกัน 3) โมเดลการส่งเสริมเกษตรอัจฉริยะในการผลิตพืชผัก ประกอบด้วยแหล่งข้อมูลหรือแหล่งองค์ความรู้จากภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา ประเด็นการส่งเสริมคือเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะตั้งแต่ต้นนํา กลางนา ปลายน้ำ และวิธีการส่งเสริมในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งแบบรายบุคคล แบบกลุ่ม แบบมวลชน และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และกลุ่มเป้าหมายคือ เกษตรกรรุ่นใหม่ ข้อมูลด้านปัจจัยต่าง ๆ ที่ทําให้โมเดลฯ เกิดการขับเคลื่อนได้ ได้แก่ หน่วยงานที่ส่งเสริม การสนับสนุน นโยบายเกษตรกร งบประมาณและชนิดพืชผัก พืชผักที่มีมูลค่า และ 4) ผลการประเมินโมเดลการส่งเสริมเกษตรอัจฉริยะในการผลิตพืชผัก พบว่า มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ และมีความเป็นประโยชน์ในระดับมากที่สุด
Description: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.(เกษตรศาสตร์และสหกรณ์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10015
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
168832.pdfเอกสารฉบับเต็ม32.95 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons