Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10034
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา.th_TH
dc.contributor.advisorจินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา.th_TH
dc.contributor.advisorพิเชตวุฒิ นิลละออ, อาจารย์ที่ปรึกษา.th_TH
dc.contributor.authorทักษิณ รักจริง, 2517--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-10-26T07:37:19Z-
dc.date.available2023-10-26T07:37:19Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10034-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์และสังเคราะห์แนวทางการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่มีผลการปฏิบัติที่ดี 2) ศึกษาระดับความสำคัญในการจัดการการส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่มีผลการปฏิบัติที่ดีและเครือข่าย 3) วิเคราะห์และสังเคราะห์โมเดล และ 4) ประเมินผลโมเดลการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชากรเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 7,850 แห่ง และแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ประสบความสำเร็จ จำนวน 50 แห่ง กำหนดตัวอย่างแบบเจาะจงและแบบง่าย ได้ตัวอย่าง เป็นผู้บริหาร อปท. 15 แห่ง ตัวแทนแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร 50 แห่ง ตัวแทนเครือข่าย 100 ราย และผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของ อปท. 10 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาการทดสอบค่าที การวิเคราะห์ปัจจัยและ การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการบริหารจัดการที่ดีของ อปท. มี 9 ด้าน มีองค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยวแบบ 5A ได้แก่ ที่พัก การคมนาคม สิ่งดึงดูดใจ สิ่งอานวยความสะดวก และกิจกรรมการท่องเที่ยว และมีมาตรฐานการส่งเสริมการท่องเที่ยว 3 ด้าน ได้แก่ มาตรฐานด้านแหล่งท่องเที่ยว การบริการ และการตลาด การท่องเที่ยว 2) แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่มีผลการปฏิบัติที่ดีและเครือข่ายให้ความสำคัญกับแนวทางการจัดการและมาตรฐานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก การให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติที่ดี และมาตรฐานการส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรของตัวแทนแหล่งท่องเที่ยว และตัวแทนเครือข่ายไม่แตกต่างกัน (p > 0.05) 3) โมเดล มีองค์ประกอบ 3 ส่วน ได้แก่ (1) แนวทางการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของ อปท. ที่มีประสิทธิภาพ 5 ด้าน (2) รูปแบบการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเชื่อมโยงกับนวัตกรรม การมีส่วนร่วม และยุทธศาสตร์ และ 3) มาตรฐานการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตร 3 ด้าน ซึ่งมีเป้าประสงค์เพื่อความยั่งยืน 4) ประเมินผลโมเดลการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ดังนั้น โมเดลจึงมีความเหมาะสม สอดคล้องกับบริบทของ อปท. สามารถนำไปใช้ได้จริง.th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectการท่องเที่ยวเชิงเกษตรth_TH
dc.titleโมเดลการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นth_TH
dc.title.alternativeAgro-tourism extension and development model by local administrative organizationth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.levelปริญญาเอกth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
168837.pdfเอกสารฉบับเต็ม23.29 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons