Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10102
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจรรยา สิงห์คำ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorวนาลัย วิริยะสุธี, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorยุวรี ละโพธิ์, 2525--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-10-30T06:57:23Z-
dc.date.available2023-10-30T06:57:23Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10102-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563th_TH
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ผลของปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์-1 ร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อสมบัติดิน 2) อัตราของปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์-1 ร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตของข้าวโพดหวาน 3) อัตราของปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์-1 ร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อองค์ประกอบผลผลิตและผลผลิตของข้าวโพดหวาน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบทดลอง โดยใช้แผนการทดลองเป็นแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในกลุ่ม มี 4 ซ้ำ จำนวน 4 ทรีตเมนต์ ประกอบด้วย ทรีตเมนต์ที่ 1 (T1) ใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำโปรแกรมปุ๋ยรายแปลงของกรมพัฒนาที่ดิน ทรีตเมนต์ที่ 2 (T2) ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 50% ตามคำแนะนำโปรแกรมปุ๋ยรายแปลงของกรมพัฒนาที่ดิน และปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์-1 อัตรา 250 กรัม/ไร่ ทรีตเมนต์ที่ 3 (T3) ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 50% ตามคำแนะนำโปรแกรมปุ๋ยรายแปลงของกรมพัฒนาที่ดิน และปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์-1 อัตรา 500 กรัม/ไร่ และ ทรีตเมนต์ที่ 4 (T4) ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 50% ตามคำแนะนำโปรแกรมปุ๋ยรายแปลงของกรมพัฒนาที่ดิน และปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์-1 อัตรา 750 กรัม/ไร่ เก็บรวบรวมข้อมูลดิน การเจริญเติบโต และผลผลิตของข้าวโพดหวาน วิเคราะห์ความแปรปรวน และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างทรีตเมนต์โดยวิธี Duncan’s new multiple range test (DNMRT) ผลการทดลองพบว่า 1) ปริมาณโพแทสเซียม ปริมาณแคลเซียม และปริมาณโซเดียมในดินโดยใส่ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ 2) ความสูงต้นข้าวโพดหวาน มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างทรีตเมนต์ (p < 0.01)ทรีตเมนต์ที่ 4 มีความสูงต้นข้าวโพดหวานสูงสุด เมื่ออายุ 56 วันและอายุ 70 วัน คือ 192.38 เซนติเมตร และ 197.19 เซนติเมตร ตามลำดับ น้ำหนักสดต้น น้ำหนักสดราก น้ำหนักแห้งต้น และน้ำหนักแห้งรากข้าวโพดหวานในทุกทรีตเมนต์มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) พบว่า ทรีตเมนต์ที่ 4 ให้น้ำหนักต้นสด น้ำหนักสดราก น้ำหนักแห้งต้น และน้ำหนักแห้งรากข้าวโพดหวานสูงกว่าทรีตเมนต์อื่น 3) จำนวนฝักดี น้ำหนักฝักดีก่อนปอกเปลือก และน้ำหนักฝักดีหลังปอกเปลือกของข้าวโพดหวานในทุกทรีตเมนต์มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) พบว่า ทรีตเมนต์ที่ 2 ทำให้จำนวนฝักดีสูงสุดคือ 8,000 ฝัก/ไร่ ในทางตรงกันข้ามพบว่าทรีตเมนต์ที่ 4 มีน้ำหนักฝักดีก่อนปอกเปลือกสูงสุดคือ 3,057.75 กิโลกรัม/ไร่ และมีน้ำหนักฝักดีหลังปอกเปลือกสูงสุดคือ 2,251.00 กิโลกรัม/ไร่ ขณะที่ความหวานของข้าวโพดหวานไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติในทุกทรีตเมนต์ ผลจากการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์-1 อัตรา 750 กรัม/ไร่ น่าจะเป็นทางเลือกสำหรับเกษตรกรในการเพิ่มผลผลิตข้าวโพดหวาน และลดการใช้ปุ๋ยเคมีth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectข้าวโพดหวาน--การผลิตth_TH
dc.subjectปุ๋ยชีวภาพ--การใช้ประโยชน์th_TH
dc.titleผลของปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์-1 ร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดหวาน ในอำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคามth_TH
dc.title.alternativeEffect of PGPR-1 and chemical fertilizers on growth and yield of sweet corn in Kut Rang District, Maha Sarakham Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to investigate 1) the effect of biofertilizer PGPR-1 and chemical fertilizers on soil properties 2) the rate of biofertilizer PGPR-1 and chemical Fertilizers on growth of sweet corn 3) investigate the rate of biofertilizer PGPR-1 and chemical fertilizers on yield component and yield of sweet corn. This experiment were research design under a Randomized Complete Block Design (RCBD) with 4 replications and 4 treatments included 1) the recommendations of the Land Development Department's individual fertilizer program (T1) 2) 50% of nitrogen fertilizer according to the recommended combined with biofertilizer PGPR-1 at the rate of 250 g/rai (T2) 3) 50% of nitrogen fertilizer according to the recommended combined with biofertilizer PGPR-1 at the rate of 500 g/rai (T3) and 4) 50% of nitrogen fertilizer according to the recommended combined with biofertilizer PGPR-1 at the rate of 750 g/rai (T4). The data was collected of soil data, growth and yield of sweet corn. The data was analyzed by using analysis of variance and compare the differences between treatments by Duncan’s new multiple range test (DNMRT). The results showed that 1) Phosphorus, potassium, and sodium in the soil after biofertilizer PGPR-1 utilization were not significantly difference. 2) Height of sweet corn were significantly different between the treatments (p < 0.01). T4 had the highest of sweet corn height as 192.38 centimeters and 197.19 centimeters at 56 days and 70 days, respectively. Plant fresh weight, root fresh weight, plant dry weight and root dry weight of sweet corn were significantly different for all treatments (p < 0.01). T4 gave the highest of plant fresh weight, root fresh weight, plant dry weight and root dry weight of sweet corn than other treatments. 3) Number of good ear, unhusked ear weight and husked ear weight of sweet corn were significantly different for all treatments (p < 0.01). T2 gave the highest for number of good ear with 8,000 ears per rai. In contrast, T4 gave the highest of unhusked ear weight at 3,057.75 kilograms per rai and husked ear weight were 2,251.00 kilograms per rai. While, the sweetness of sweet corn were not significantly different for all treatments. The result of this research demonstrated that the usage of chemical fertilizer with biofertilizer PGPR-1 at the rate of 750 g/rai can be an alternative way for farmers to increase yield of sweet corn and reduce chemical fertilizer applicationen_US
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
167104.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.61 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons