Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10105
Title: ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงที่มีน้ำหนักเกิน
Other Titles: The effectiveness of a health literacy developmental program in overweight pre-hypertension
Authors: สุทธีพร มูลศาสตร์, อาจารย์ที่ปรึกษา
นภาเพ็ญ จันทขัมมา, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศิรินภา วรรณประเสริฐ, 2530-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน --วิทยานิพนธ์
ความรอบรู้ทางสุขภาพ
ความดันเลือดสูง--การป้องกันและควบคุม
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงที่มีน้ำหนักเกินต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมการดูแลตนเอง ดัชนีมวลกาย และความดันเลือดแดงเฉลี่ยในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงที่มีน้ำหนักเกิน กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงที่มีน้ำหนักเกินในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไผ่งาม อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ซึ่งถูกคัดเลือกโดยวิธีการสุ่ม ตัวอย่างแบบง่าย เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 35 คน เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย 1) โปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ ซึ่งพัฒนาขึ้นตามแบบจำลองกระบวนการ-ความรู้ของความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีระยะเวลา 10 สัปดาห์ กิจกรรมประกอบด้วย การฝึกความสามารถเชิงกระบวนการคิด พัฒนาการสื่อสารความรู้ทั่วไป และพัฒนาความรู้ทางสุขภาพเฉพาะโรค 2) คู่มือความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูง 3) แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลตนเอง 4) เครื่องวัดความดันโลหิตแบบอัตโนมัติ แบบสอบถามส่วนความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลตนเองมีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .95 และ 1.00 และมีค่าความเที่ยงคูเดอร์-ริชาดสัน เท่ากับ .96 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบราคเท่ากับ .87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติที ผลการวิจัยพบว่า หลังการเข้าร่วมโปรแกรม คะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลตนเองของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงที่มีน้ำหนักเกินในกลุ่มทดลองมีค่ามากกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมและมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนดัชนีมวลกายและความดันเลือดแดงเฉลี่ยมีค่าน้อยกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมและน้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.(การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10105
Appears in Collections:Nurse-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
165008.pdfเอกสารฉบับเต็ม25.97 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons