Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10110
Title: พฤติกรรมการใช้สารเคมีและแนวทางการป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัยในพริกชีขาวของเกษตรกรใน อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา
Other Titles: Chemical use behavior and safety pest control methods in white chili of farmers in Kuraburi District, Phang Nga Province
Authors: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
นารีรัตน์ สีระสาร, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุวรรณา จิตรแสวง, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์
พริก--โรคและศัตรูพืช
สารเคมีทางการเกษตร--ไทย--พังงา
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความรู้และแหล่งความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร 2) ความคิดเห็นและพฤติกรรมในการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัยในพริกชีขาวของเกษตรกร 3) ความต้องการส่งเสริมการป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัยในพริกชีขาวของเกษตรกร 4) ปัญหาข้อเสนอแนะแนวทางการป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัยในพริกชีขาวของเกษตรกร 5) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัยในพริกชีขาวของเกษตรกร ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกพริกชีขาว ในปี พ.ศ. 2562/63 จำนวนทั้งสิ้น 238 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรทาโร่ ยามาเน่ ที่ค่าความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้จำนวน 150 ราย ทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย จัดเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีการเกษตร อยู่ในระดับมีความรู้มากที่สุด โดยเฉพาะเรื่องควรรู้จักสัญลักษณ์เกี่ยวกับสารเคมีที่เป็นอันตรายเพื่อหลีกเลี่ยง แหล่งความรู้ที่เกษตรกรได้รับอยู่ในระดับปานกลาง โดยได้รับจากสื่อบุคคลมากที่สุด 2) ความคิดเห็นในการใช้สารเคมีอย่างปลอดภัย อยู่ในระดับมากที่สุด โดยเฉพาะผลผลิตทางการเกษตรมีคุณภาพ/ปลอดภัย ส่วนพฤติกรรมการใช้สารเคมีอย่างปลอดภัยอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเฉพาะเก็บสารเคมีที่เหลือและอุปกรณ์ฉีดพ่นสารเคมีไว้ในที่มิดชิด ห่างไกลจากเด็กและสัตว์เลี้ยง 3) ความต้องการส่งเสริมการใช้สารเคมี อยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะการเลือกใช้สารเคมีที่เหมาะสมกับชนิดของโรคและแมลงศัตรูพืช 4) ปัญหาการใช้สารเคมีอยู่ในระดับปานกลาง โดยเฉพาะสารเคมีราคาแพง 5) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัย พบว่า จำนวนสมาชิกในครัวเรือน รายได้ภาคการเกษตร แหล่งความรู้ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติกับพฤติกรรมขณะการใช้และหลังการใช้สารเคมีเชิงบวก และพบว่า อายุ รายจ่ายภาคการเกษตร จำนวนพื้นที่ถือครองทางการเกษตร ภาวะหนี้สินมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติกับพฤติกรรมก่อนการใช้ ขณะการใช้และหลังการใช้สารเคมีเชิงลบมีข้อเสนอแนะคือการใช้สารอื่น ๆ ทดแทนการใช้สารเคมีและต้องการการสนับสนุนปัจจัยการผลิตจากหน่วยงานราชกา
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10110
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
165208.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.61 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons