Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10153
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปัทมาพร เย็นบำรุงth_TH
dc.contributor.authorวาทิตา เอื้อเจริญ, 2520-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-10-31T03:43:53Z-
dc.date.available2023-10-31T03:43:53Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10153en_US
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ศิลปศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562th_TH
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการความทรงจำของมหาวิทยาลัยไทย 2) วิเคราะห์และจำแนกประเภทความทรงจำของมหาวิทยาลัยไทย 3) ศึกษากระบวนการจัดการความทรงจำของมหาวิทยาลัยไทย และ 4) พัฒนารูปแบบการจัดการความทรงจำของมหาวิทยาลัยไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ มหาวิทยาลัยในประเทศไทยที่มีการจัดการความทรงจำของมหาวิทยาลัยตามเกณฑ์ที่กำหนด จากการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 8 แห่ง โดยสัมภาษณ์ผู้บริหาร จำนวน 14 คน และผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 25 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสำรวจข้อมูลเบื้องต้นและแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง จำนวน 2 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาแบบอุปนัย นำข้อมูลที่ได้มาสังเคราะห์เป็นร่างรูปแบบการจัดการความทรงจำของมหาวิทยาลัยไทย รับรองร่างรูปแบบโดยการประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 6 คน และทดลองนำรูปแบบไปใช้กับมหาวิทยาลัยที่ยังไม่มีการจัดการความทรงจำของมหาวิทยาลัย จำนวน 1 แห่ง ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) มหาวิทยาลัยไทยที่ศึกษาส่วนใหญ่มีแหล่งจัดการความทรงจำ คือ หอจดหมายเหตุ พิพิธภัณฑ์ และหอประวัติ โดยมหาวิทยาลัยทุกแห่งไม่มีนโยบายโดยตรงเกี่ยวกับการจัดการความทรงจำของมหาวิทยาลัยที่เป็นลายลักษณ์อักษร 2) ประเภทความทรงจำของมหาวิทยาลัยไทยที่ได้จากการวิเคราะห์ สามารถจำแนกตามขอบเขตของเนื้อหาได้ 5 หมวดหมู่ ได้แก่ ประวัติและพัฒนาการ เหตุการณ์สำคัญ พิธีการ/กิจกรรม/ประเพณีสำคัญ บุคคลสำคัญ และสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย และจำแนกตามรูปลักษณ์ของสื่อบันทึกความทรงจำ ได้ 4 ประเภท ได้แก่ สื่อกระดาษ สื่อโสตทัศน์ สื่อดิจิทัล และวัสดุของจริง 3) กระบวนการจัดการความทรงจำของมหาวิทยาลัยที่ศึกษาทุกแห่งใช้หลักวิชาการจัดการเอกสารจดหมายเหตุและการจัดการวัตถุพิพิธภัณฑ์ ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ การจัดหา การจัดเก็บ การดูแลรักษา และการบริการและเผยแพร่สื่อบันทึกความทรงจำของมหาวิทยาลัย 4) รูปแบบการจัดการความทรงจำของมหาวิทยาลัยไทยที่พัฒนาขึ้น เพื่อเป็นกรอบในการประยุกต์ใช้จัดการความทรงจำของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ การจำแนกประเภทความทรงจำของมหาวิทยาลัย กระบวนการจัดการความทรงจำของมหาวิทยาลัย และปัจจัยสำคัญในการจัดการความทรงจำของมหาวิทยาลัยให้ประสบผลสำเร็จ อันได้แก่ นโยบาย แหล่งและผู้รับผิดชอบ พื้นที่การทำงาน เทคโนโลยี งบประมาณ และความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ผลการนำรูปแบบไปทดลองใช้พบว่า สามารถประยุกต์ใช้รูปแบบในการจัดการความทรงจำของมหาวิทยาลัยได้ และผู้รับบริการมีความพึงพอใจในการบริการและเผยแพร่ความทรงจำของมหาวิทยาลัยอยู่ในระดับมากth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectการจัดการทรัพยากรสารสนเทศth_TH
dc.subjectสถาบันอุดมศึกษา--จดหมายเหตุth_TH
dc.titleการพัฒนารูปแบบการจัดการความทรงจำของมหาวิทยาลัยไทยth_TH
dc.title.alternativeDevelopment of a management model for the memory of Thai universitiesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศิลปศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe research aimed to 1) study the state regarding managing the memory of Thai universities; 2) analyze and classify types of the memory of Thai universities; 3) study the managing processes of the memory of Thai universities; and 4) develop a management model applicable for the memory of Thai universities. In this qualitative research, eight Thai universities were purposively selected according to some given criteria regarding managing the memory of Thai universities. Fourteen university administrators and twenty-five staff members were interviewed. Research instruments were a preliminary survey form and two semi-structured in-depth interview forms. The inductive analysis was used to synthesize the draft of the management model. Focus-group discussion by six experts was conducted to approve the model. Then, the management model was implemented at a university which had never managed the memory of the university. The research yielded significant results. 1) Archives, museums and historical halls were the mechanisms in most of the eight Thai universities for managing the memory of their universities; all of these universities had no written policies directly regarding the management of their university’s memory. 2) The types of memories of these universities could be classified into five content-focused categories: the history and development of the university, significant events, important ceremonies/activities/traditions, important persons and symbols of the university, and four media forms-focused categories: paper materials, audio-visual materials, digital materials and real objects. 3) All of the eight Thai universities applied the management principles of both archives and museums to design and implement the managing processes of their university’s memory, including the stages of acquisition, storage, maintenance, and services and dissemination. 4) A management model applicable for the memory of Thai universities was developed comprising three main elements: the classification of the types of university memories, the university memory management process, and the significant factors contributing to the success of the university memory management, including policies, sources and authorities, working space, technology, budget and collaboration both within the university and with other institutions. The implementation of the management model resulted that the model could be applicable for the memory of Thai universities, and the user satisfaction was at a high level.en_US
dc.contributor.coadvisorสมสรวง พฤติกุลth_TH
dc.contributor.coadvisorรุจยา อาภากรth_TH
Appears in Collections:Arts-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
167047.pdfเอกสารฉบับเต็ม38.01 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons