Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10248
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorศรินทร เมธีวัชรานนท์, 2492--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-11-02T03:36:42Z-
dc.date.available2023-11-02T03:36:42Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10248-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตในบริบทของการสื่อสารทางการเมือง (2) อิทธิพลของการรับส่งข่าวสารผ่านอินเตอร์เน็ตที่มีต่อทัศนคติ ความคิด ความเชื่อ การสนับสนุนและการต่อด้านของประชาชนในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของไทย และ (3) ปัญหา อุปสรรค ตลอดจนข้อเสนอแนะในการใช้สื่ออินเตอร์เน็ตทางการเมืองต่อส่วนราชการและองค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อความมั่นคงของประเทศ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) พฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตทางการเมืองของประชาชนในช่วง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 จนถึง พ.ศ. 2552 ยังไม่สอดคล้องกับบริบทของการสื่อสารทางการเมือง โดยเน้นเฉพาะการรับฟังแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมแบบปรึกษาหารือเป็นส่วนใหญ่เท่านั้น (2) อิทธิพลของอินเตอร์เน็ตที่มีต่อทัศนคติ ความคิด ความเชื่อ การสนับสนุนและการต่อด้านของประชาชนในการมีส่วนร่วมทางการมืองในช่วงเวลาดังกล่าวอยู่ในระดับต่ำ (3)ปัญหาสื่ออินเตอร์เน็ตที่มีอิทธิพลต่อการเมืองมาจากปัญหาเชิงนโยบายที่รัฐคุมอำนาจแทรกแซงปิดกั้นสื่อ โดยส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศและปัญหาเชิงปฏิบัติ เมื่อผู้ใช้สื่อขาดคุณธรรมจริยธรรม จิตสำนึกต่อส่วนรวมทำให้เกิดความขัดแย้ง แตกแยก มุ่งหวังผลประโยชน์ทางการเมืองเพียงอย่างเดียว ประชาชนส่วนใหญ่จึงหลีกเลี่ยงการใช้สื่ออินเตอร์เน็ตทางการเมือง ผลการศึกษามีข้อเสนอแนะ 3 ประเด็น คือ (3.1) รัฐควรสนับสนุนบทบาทของสื่ออินเตอร์เน็ตในการสร้างการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนโดยกระบวนการทางกฎหมายและมาตรการอื่นๆ ที่เหมาะสม(3.2) องค์กรที่เกี่ยวข้องเสนอมาตรการที่ชัดเจนในประเด็นเรื่องจริยธรรมการใช้สื่ออินเตอร์เน็ตทางการเมืองth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--รัฐศาสตร์th_TH
dc.subjectการเลือกตั้ง--ไทยth_TH
dc.subjectอินเทอร์เน็ต--แง่การเมือง--ไทยth_TH
dc.titleอิทธิพลของอินเตอร์เน็ตที่มีต่อการเมืองไทยตั้งแต่การเลือกตั้งวันที่ 23 ธันวาคม 2550-2552th_TH
dc.title.alternativeThe influence of the internet on politics in Thailand since the election December 23, 2550-2552en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameรัฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชารัฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Pol-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
125580.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.53 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons