Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10252
Title: | ความขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชนชุมชนสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ต่อกรณีการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น |
Other Titles: | Conflicts between government with people in Tambol Sa-iab Song district in Phrae province to the case of construction Kaeng Suea Ten Dam |
Authors: | ธโสธร ตู้ทองคำ วัชรินทร์ ศรีชุมพร, 2504- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี ความขัดแย้งทางการเมือง การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเป็นมาของความขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชนชุมชนสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ต่อกรณีการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น 2) สาเหตุที่นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชนชุมชนสะเอียบ 3) ผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชนชุมชนสะเอียบ 4) แนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชนชุมชนสะเอียบ ต่อกรณีการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ความขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชนชุมชนสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ต่อกรณีการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสำรวจเอกสารและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งหมด 10 คนซึ่งประกอบด้วย ประชาชนในตำบลสะเอียบที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น จำนวน 3 คน เจ้าหน้าที่ของรัฐ จำนวน 5 คน เจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชนและนักวิชาการ จำนวน 2 คน เครื่องมือที่ใช้ในการในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและการบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความเป็นมาของความขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชนมาจากความต้องการของรัฐที่ให้มีการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นทำให้มีความพยายามอพยพย้ายถิ่นฐานของประชาชนชุมชนสะเอียบ อีกทั้งยังเป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ 2) สาเหตุที่นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชน ได้แก่ การผลักดันโครงการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นของรัฐโดยไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบและความเข้าใจของประชาชนว่าการสร้างเขื่อนเป็นการทำลายทรัพยากรป่าไม้ 3) ผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชนคือการรวมตัวของประชาชนชุมชนสะเอียบเพื่อคัดค้านการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นและ การชะลอการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น 4) แนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชน ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ประชาชนเป็นผู้ร่วมตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาร่วมกับภาครัฐ การเจรจาและการยอมรับโดยสันติวิธี และการประนีประนอม |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10252 |
Appears in Collections: | Pol-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
127332.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 10.22 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License