Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10353
Title: การดำรงอยู่ของกำนันผู้ใหญ่บ้านในเขตเทศบาลตำบล : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลคูเต่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
Other Titles: The existence of Village Headman Post in the Municipality : a case study of the Kutao Municipality Hat Yai District, Songkhla Province
Authors: ปธาน สุวรรณมงคล, อาจารย์ที่ปรึกษ
สุวิทย์ หวัดเพชร, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง --การศึกษาเฉพาะกรณี
กำนัน
ผู้ใหญ่บ้าน
การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความจำเป็นในการดำรงอยู่ของกำนันผู้ใหญ่บ้านในเขตเทศบาลตำบล และเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมในการดำรงอยู่ของกำนันผู้ใหญ่บ้านในเขตเทศบาลตำบลผลการวิจัยพบว่า ความจำเป็นที่ทำให้กำนันผู้ใหญ่บ้านต้องยังคงอยู่คือ ด้านการปกครองในฐานะที่เป็นผู้บำบัดทุกข์บำรุงสุขและส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย ด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคง ด้านการประสานงานในฐานะตัวแทนของรัฐบาลและตัวแทนประชาชน ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพแก่ประชาชน ด้านการพัฒนาสังคมเกี่ยวกับการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของชุมชนท้องถิ่น ด้านการอำนวยความสะดวกและเป็นที่พึ่งแก่ประชาชน ด้านการดูแลรักษาทรัพย์สินของทางราชการและสมบัติของส่วนรวม และด้านการเป็นผู้นำของชุมชนเกี่ยวกับงานพัฒนาชุมชนและเป็นผู้นำในกิจกรรมอื่น ๆ จึงมีความจำเป็นต้องดำรงอยู่ในเขตเทศบาลตำบล สำหรับแนวทางที่เหมาะสมในการดำรงอยู่คือ ในการทำงานร่วมกับเทศบาลตำบลจะต้องมีการประสานงาน และบูรณาการในการทำงานร่วมกัน และควรแก้ระเบียบกฎหมายเพื่อเปิดโอกาสให้กำนันผู้ใหญ่บ้าน สามารถที่จะดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาเทศบาล หรือสามารถที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาล โดยการดำรงตำแหน่งควบคู่กันได้ หรือการแต่งตั้งให้กำนันผู้ใหญ่บ้านเป็นประธานกรรมการชุมชน ในชุมชนย่อยของเทศบาลตำบล
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10353
Appears in Collections:Pol-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
127394.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.15 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons