Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10355
Title: บทบาททางการเมืองของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจชายแดนจังหวัดตาก
Other Titles: Political roles of the Federation of Thai Industries for establishment of Tak special border economic zone
Authors: ธโสธร ตู้ทองคำ
อำนาจ นันทหาร, 2508-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย--การมีส่วนร่วมทางการเมือง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงบทบาททางการเมืองของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจชายแดนจังหวัดตาก การศึกษาครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพจากโดยวิธีการศึกษาจากเอกสาร ร่วมกับการสัมภาษณ์และการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณา ประชากรแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) นักธุรกิจและผู้บริหารสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (2) ข้าราชการ (3) ประชาคมแม่สอด ประชาชน นักวิชาการ นักการเมืองท้องถิ่นและสื่อมวลชน กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มผู้บริหารสภาอุตสาหกรรม 5 คน ผู้บริหารสภาอุตสาหกรรมจังหวัดตากและนักธุรกิจ 5 คน (2) ข้าราชการในจังหวัดตาก 6 คน (3) นักวิชาการ 2 คน สื่อมวลชน 2 คน ประชาคมแม่สอด 1 คน ประชาชน 2 คน นักการเมืองท้องถิ่น 3 คน รวมทั้งหมด 26 คน ผลการศึกษาพบว่าสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยมีบทบาททางการเมืองในด้านโครงสร้าง ได้แก่ การเชื่อมประสานในแนวดิ่งโดยทำหน้าที่รวบรวมความคิดเห็น ข้อเสนอแนะรวมถึงข้อเรียกร้องต่าง ๆ จากสมาชิก นักธุรกิจและกลุ่มประชาคมแม่สอดโดยป้อนข้อมูลเข้าสู่ภาครัฐทั้งโดยตรงกับผู้แทนรัฐบาลและทางอ้อมโดยผ่านกลไกการบริหารราชการในรูปแบบคณะกรรมการ และการทำหน้าที่เชื่อมประสานในแนวนอน โดยการเข้าร่วมกับกลุ่มธุรกิจ กลุ่มประชาสังคมและกลุ่มนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดตากเพื่อผลักดันการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจชายแดนจังหวัดตากกับระบบราชการและผู้มีอำนาจในรัฐบาล ส่วนบทบาททางการเมืองของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในด้านกระบวนการคือบทบาทในการเรียกร้อง ได้แก่ การส่งผู้แทนผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านแรงงานเข้าไปทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการและที่ปรึกษาเพื่อร่วมกับภาครัฐในการกำหนดแผนแม่บท แผนปฏิบัติการและกฎระเบียบการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวในเขตเศรษฐกิจชายแดนจังหวัดตาก และบทบาทของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในการโน้มน้าว ได้แก่ การยื่นหนังสือ การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กับนักการเมืองท้องถิ่น เจ้าหน้าที่รัฐทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อผลักดันการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจชายแดนจังหวัดตากให้เกิดเป็นรูปธรรมโดยเร็ว และบทบาทในการขานรับนโยบาย ได้แก่ การจัดประชุมสัมมนาให้ความรู้แก่สมาชิกและประชาชนเกี่ยวกับผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นเขตเศรษฐกิจชายแดนจังหวัดตาก ผลการศึกษาพบว่าสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยมีบทบาททางการเมืองในด้านโครงสร้าง ได้แก่ การเชื่อมประสานในแนวดิ่งโดยทำหน้าที่รวบรวมความคิดเห็น ข้อเสนอแนะรวมถึงข้อเรียกร้องต่าง ๆ จากสมาชิก นักธุรกิจและกลุ่มประชาคมแม่สอดโดยป้อนข้อมูลเข้าสู่ภาครัฐทั้งโดยตรงกับผู้แทนรัฐบาลและทางอ้อมโดยผ่านกลไกการบริหารราชการในรูปแบบคณะกรรมการ และการทำหน้าที่เชื่อมประสานในแนวนอน โดยการเข้าร่วมกับกลุ่มธุรกิจ กลุ่มประชาสังคมและกลุ่มนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดตากเพื่อผลักดันการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจชายแดนจังหวัดตากกับระบบราชการและผู้มีอำนาจในรัฐบาล ส่วนบทบาททางการเมืองของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในด้านกระบวนการคือบทบาทในการเรียกร้อง ได้แก่ การส่งผู้แทนผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านแรงงานเข้าไปทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการและที่ปรึกษาเพื่อร่วมกับภาครัฐในการกำหนดแผนแม่บท แผนปฏิบัติการและกฎระเบียบการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวในเขตเศรษฐกิจชายแดนจังหวัดตาก และบทบาทของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในการโน้มน้าว ได้แก่ การยื่นหนังสือ การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กับนักการเมืองท้องถิ่น เจ้าหน้าที่รัฐทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อผลักดันการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจชายแดนจังหวัดตากให้เกิดเป็นรูปธรรมโดยเร็ว และบทบาทในการขานรับนโยบาย ได้แก่ การจัดประชุมสัมมนาให้ความรู้แก่สมาชิกและประชาชนเกี่ยวกับผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นเขตเศรษฐกิจชายแดนจังหวัดตาก
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10355
Appears in Collections:Pol-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
128485.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.97 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons