Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10470
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorส่งเสริม หอมกลิ่น, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorศิรินทร มาทอง, 2527--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.date.accessioned2023-11-15T07:14:49Z-
dc.date.available2023-11-15T07:14:49Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10470-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของสมาชิกที่มีต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการสหกรณ์ 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการสหกรณ์ และ 3) เสนอแนะแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสหกรณ์เครดิตยูเนียนไตรมิตร จำกัด ประชากรในการศีกษา คือ สมาชิกสหกรณ์เครดิตยูเนียนไตรมิตร จำกัด จังหวัดเชียงใหม่ ณ วันที่ 1 มีนาคม 2562 จํานวน 120 คน โดยศึกษาจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า สมาชิกสหกรณ์ ร้อยละ 62.50 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 63 ปี สถานภาพสมรส ร้อยละ 57.50 การศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 50.80 ประกอบอาชีพ ส่วนตัวและเกษียณอายุราชการ ร้อยละ 40.80 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 16,500 บาท 1) ความคิดเห็นของสมาชิกที่มีต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการสหกรณ์ โดยรวมสหกรณ์มีการปฏิบัติตามมาตรฐานการบริหารจัดการ ร้อยละ 88.62 อยู่ในมาตรฐานระดับ ทอง ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านกระบวนการดำเนินงานภายใน ด้านสมาชิก และด้านการเรียนรู้ และการพัฒนา โดยสหกรณ์มีการปฏิบัติตามมาตรฐานการบริหารจัดการ ร้อยละ 91.22 90.17 และ 84.47 ตามลำดับ 2) ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการสหกรณ์ ได้แก่ (1) สมาชิกไม่ได้ติดตามข่าวสารของสหกรณ์และเสนอความคิดเห็นในการพัฒนาสหกรณ์ (2) สหกรณ์ไม่ใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการปฏิบัติงาน และ (3) สหกรณ์ไม่มีการฝึกอาชีพเพื่อการเสริมรายได้ให้กับสมาชิก และ 3) แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสหกรณ์ ได้แก่ (1) ด้านสมาชิก การให้ความรู้ด้านสหกรณ์และประชาสัมพันธ์อย่างชัดเจนถึงผลประโยชน์ที่สมาชิกจะได้รับจากสหกรณ์และกระตุ้นการมีส่วนร่วมกิจกรรมและการจูงใจให้สมาชิกเข้าร่วมประชุม (2) ด้านกระบวนการดำเนินงานภายใน คณะกรรมการทุกตำแหน่งควรปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถ และมีความรู้ในแต่ละตำแหน่ง และ (3) ด้านการเรียนรู้และการพัฒนา การให้ความรู้ด้านสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนให้กับสมาชิกและบุคคลที่สนใจทราบความสำคัญของสหกรณ์th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนไตรมิตร--การจัดการth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--สหกรณ์th_TH
dc.titleการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนไตรมิตร จำกัด จังหวัดเชียงใหม่th_TH
dc.title.alternativeIncreasing management efficiency of Traimit Credit Union Cooperative Ltd., Chiangmai Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this independent study were 1) to study opinions of members towards the cooperative management efficiency 2) to learn about problems and obstacles in cooperative management and 3) to suggest approaches to increase Traimit Credit Union Cooperative Ltd. management efficiency. Population of this study were 120 members of Traimit Credit Union Cooperative Ltd., Chiang Mai province on 1 March, 2019. The samples used were the entire population. Tool that was used in this study was questionnaire. Data was analyzed using statistics such as frequency, percentage, mean, standard deviation, and content analysis. The results of the study showed that 62.50% of cooperative members were female with the average age of 63 years and with marriage status. 57.50% of the members completed bachelor degree and 50.80% owned their own business and retired from the government sector. 40.80% of the members had the average income of 16,500 per month. 1) Opinions of members towards cooperative management efficiency, overall, had met the management standards and 88.62% fell within the gold standard in 3 aspects such as internal process, membership, and learning and development with 91.22%, 90.17%, and 84.47% respectively. 2) Problems and obstacles in cooperative management included (1) members did not follow news of the cooperative nor express their opinions about cooperative development. (2) The cooperative did not utilized technology in assisting with the operation and (3) the cooperative did not have occupational training to help increase members’ income. 3) Guidelines to increase efficiency in cooperative management were like (1) regarding the membership aspect, knowledge giving about cooperative and clear public relation on members benefits that they will receive from the cooperative upon being a member and stimulate activity participation and attraction to get members to the meeting. (2) In regards to internal process aspect, all of the committees should work with all their efforts and knowledge for each position they held and (3) for learning and development, the knowledge giving on credit union cooperative for members and interested prospects was a key essence of the cooperativeen_US
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.77 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons