Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10474
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงโคนมเพื่อเพิ่มคุณภาพน้ำนมดิบของสมาชิกสหกรณ์โคนมบางสะพาน จำกัด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Other Titles: Factors affecting to dairy farming for raw milk quality of members of Bang Saphan Dairy Cooperative Limited, Prachuap Khiri Khan Province
Authors: สุจิตรา รอดสมบุญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
อ้อมใจ สมพืช, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
โคนม--การเลี้ยง
ฟาร์มโคนม--การจัดการ
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การจัดการฟาร์มโคนมของสมาชิกสหกรณ์โคนมบางสะพาน จำกัด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและการจัดการฟาร์มโคนมกับคุณภาพน้ำนมดิบ และ 3) ข้อเสนอแนะในการเลี้ยงโคนม กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ สมาชิกสหกรณ์โคนมบางสะพาน จำกัด ที่มาส่งน้ำนมดิบเป็นประจำ จำนวน 64 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบไคสแควร์ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า สมาชิกสหกรณ์โคนม บางสะพาน จำกัด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 41-50 ปี สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาประถมศึกษา มีรายได้ต่อเดือนตั้งแต่ 60,000 บาทขึ้นไป หนี้สินของครัวเรือนอยู่ในช่วง 25,000 บาท ขึ้นไป ส่วนใหญ่เป็นหนี้สหกรณ์โคนมบางสะพาน จำกัด ปริมาณน้ำนมดิบที่ได้เฉลี่ยต่อวัน 101 - 200 ลิตร และ คุณภาพน้ำนมดิบฤดูฝนและฤดูร้อน อยู่ในกรดระดับ 2 คือ คุณภาพน้ำนมดิบดี 1) การจัดการฟาร์มโคนมพบว่า เกษตรกรให้ความสำคัญในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ด้านขบวนการผลิตน้ำนมดิบ ด้านการเก็บรักษาน้ำนมดิบ และด้านการขนส่งน้ำนมดิบ อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านการเลี้ยงโคนม ด้านการจัดการอาหาร และด้านการจัดการสุขภาพสัตว์ อยู่ในระดับมาก 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับคุณภาพน้ำนมดิบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติพบว่า ฤดูฝนคือ อายุ และระยะเวลาการเป็นสมาชิก ฤดูร้อนคือ อายุ ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการฟาร์มโคนมกับคุณภาพน้ำนมดิบ พบว่า ฤดูฝนคือ ด้านการเลี้ยงโคนม ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ด้านขบวนการผลิตน้ำนมดิบ ด้านการเก็บรักษาน้ำนมดิบ และด้านการขนส่งน้ำนมดิบ ฤดูร้อนคือ ด้านการเลี้ยงโคนม 3) ข้อเสนอแนะคือ ควรมีการจัดสัดส่วนการเลี้ยงโคนมในแต่ละช่วงอายุของโคนม ใช้แหล่งที่มาของพันธุ์ โคนมที่มีคุณภาพ การจัดปริมาณและคุณภาพอาหารหยาบ อาหารข้น และสัดส่วนที่ถูกต้องและเหมาะสมสำหรับโครีดนม การพัฒนาขนาดของโรงเรือนโคนมให้ได้มาตรฐาน การทำความสะอาดเต้านมโคก่อนรีด และควรมีการตรวจความผิดปกติของน้ำนมก่อนรีดนมลงในถังรวมกัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10474
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.07 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons