Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10505
Title: มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการให้พ้นจากตำแหน่งกำนันผู้ใหญ่บ้านโดยราษฎร
Other Titles: Legal measures to recall a member of local assemblymen or any administrator board
Authors: ธวัชชัย สุวรรณพานิช, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุรเชษ บิลสัน
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน --การศึกษาเฉพาะกรณี
กำนัน
ผู้ใหญ่บ้าน
การปกครองท้องถิ่น--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--ไทย
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาหลักกฎหมายของตำแหน่งกำนันผู้ใหญ่บ้านเปรียบเทียบกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (2) วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งกำนันผู้ใหญ่บ้านโดยราษฎร (3) เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งกำนันผู้ใหญ่บ้านโดยราษฎร การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการวิจัยจาก ตำรา กฎหมาย ระเบียบ คำสั่งที่เกี่ยวข้อง วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ บทความ เอกสารทางวิชาการ และ ข้อมูลจากเครือข่าย ทางอินเตอร์เน็ตทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ นำมาวิเคราะห์ เพื่อให้ได้ทราบถึงแนวคิด ทฤษฎี และหลักกฎหมายเกี่ยวกับการให้พ้นจากตำแหน่งกำนันผู้ใหญ่บ้านโดยราษฎร ผลจากการศึกษาค้นคว้าอิสระ พบว่า (1) กำนัน ผู้ใหญ่บ้านมีฐานะ และบทบาทถึง 3 ประการ ได้แก่ ฐานะตัวแทนของรัฐ ตัวแทนประชาชนและฐานะนักการเมือง หรือผู้แทน ซึ่งในแต่ละฐานะต่างก็มีจุดแข็งและจุดอ่อนในการทำหน้าที่ตามกฎหมายและการบริหารปกครองท้องที่รวมอยู่ด้วยกัน (2) ปัญหาเกิดจากการมีฐานะถึงสามประการของกำนันและผู้ใหญ่บ้าน จึงก่อให้เกิดความสับสนและความขัดแย้งระหว่างความต้องการของชาวบ้านและหน่วยงานราชการ การถูกแทรกแซงควบคุมอยู่ภายใต้อิทธิพลของข้าราชการ การถอดถอนกำนัน ผู้ใหญ่บ้านออกจากตำแหน่งไม่มีความชัดเจนในทางปฏิบัติ รวมถึงการไม่มีองค์กรที่คอยดูแลและให้ความเป็นธรรม (3) ควรปรับปรุงฐานะและบทบาทอำนาจหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านให้มีฐานะสำคัญหรือหน้าที่หลักในการเป็นตัวแทนประชาชน ผู้วิจัยเห็นควรแก้ไข ปรับปรุงบทบัญญัติของกฎหมาย ดังนี้ 1) ควรกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้านให้ชัดเจนและควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด 2) การกำหนดให้กำนันผู้ใหญ่บ้านพ้นจากการมีฐานะเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของปลัดอำเภอ และนายอำเภอ 3) การลงคะแนนเสียงการถอดถอนกำนันผู้ใหญ่บ้านจากตำแหน่ง ควรมีจำนวนไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 4) กำนันผู้ใหญ่บ้านสามารถร้องทุกข์ต่อกระทรวงมหาดไทย หากไม่ได้รับความเป็นธรรม
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10505
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.24 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons