Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10548
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนิตยา เพ็ญศิรินภา, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorพรทิพย์ กีระพงษ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorสำราญ คำมี, 2505--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-11-20T03:47:57Z-
dc.date.available2023-11-20T03:47:57Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10548-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ส.ม.(บริหารโรงพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562th_TH
dc.description.abstractการวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับการปฏิบัติตามกระบวนการพยาบาล (2) ระดับแรงจูงใจภายใน และแรงจูงใจภายนอก และ (3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติตามกระบวนการพยาบาลในหอผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ประชากรการวิจัย คือ พยาบาลวิชาชีพซึ่งปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยในของโรงพยาบาล 2 แห่ง ในสังกัดมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จำนวน 411 คน กลุ่มตัวอย่าง จํานวน 234 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามหอผู้ป่วย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมี 8 ส่วน ค่าความเที่ยงอยู่ระหว่าง 0.72-0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า (1) พยาบาลวิชาชีพมีระดับการปฏิบัติตามกระบวนการพยาบาลในหอผู้ป่วยอยู่ในระดับสูงทั้งในภาพรวมและแต่ละขั้นตอน (2) แรงจูงใจภายใน ได้แก่ เจตคติต่อการปฏิบัติตามกระบวนการพยาบาล ความยึดมั่นผูกพันต่อวิชาชีพพยาบาล และทักษะพื้นฐานในการทำงาน อยู่ในระดับสูงทั้งหมด สำหรับแรงจูงใจภายนอก ได้แก่ การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมและการได้รับการนิเทศเกี่ยวกับกระบวนการพยาบาล อยู่ในระดับสูง ส่วนอุปสรรคต่อการปฏิบัติตามกระบวนการพยาบาลอยู่ในระดับปานกลาง และ (3) ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามกระบวนการพยาบาลในหอผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ พบว่า มีจำนวน 3 ตัวแปรเรียงลำดับอิทธิพลจากมากไปน้อย ได้แก่ ทักษะพื้นฐานต่อการปฏิบัติตามกระบวนการพยาบาล เจตคติต่อการปฏิบัติตามกระบวนการพยาบาล และการได้รับการนิเทศเกี่ยวกับกระบวนการพยาบาล ตามลำดับ โดยสามารถร่วมกันทำนายการปฏิบัติตามกระบวนการพยาบาลในหอผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพ ได้ร้อยละ 39.90th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารโรงพยาบาล--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectการพยาบาล--เวชปฏิบัติth_TH
dc.subjectพยาบาลวิชาชีพ--ไทยth_TH
dc.subjectผู้ป่วย--การดูแลth_TH
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามกระบวนการพยาบาลในหอผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งth_TH
dc.title.alternativeFactors affecting the implementation of the nursing process of registered nurses in inpatient wards at university hospitalsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this descriptive research were: (1) to determine the level of implementation of the nursing process; (2) to identify the levels of intrinsic and extrinsic motives; and (3) to identify factors affecting the level of implementation of the nursing process, all of professional or registered nurses (RNs) in inpatient wards at university hospitals. The study involved 234 RNs selected, using the stratified random sampling, from 411 RNs working in inpatient wards at two hospitals under a university. Data were collected using an eight-part questionnaire with the reliability value of 0.72–0.98. Data analyses were undertaken using descriptive statistics and stepwise multiple regression. The results showed that, among the participating RNs: (1) the implementation levels of the nursing process were at the high level; (2) the intrinsic motives, including attitudes toward the nursing process implementation, professional commitment, and basic working skills, were all at the high level, while the extrinsic motives, including social support and supervision on the nursing process, were at the high level; and the barriers to the nursing process implementation were at the moderate level; and (3) the factors significantly affecting RNs’ nursing process implementation in inpatient wards were, in descending order, basic skills, attitudes, and supervision related to nursing process implementation; and all combined could 39.9% predict RNs’ nursing process implementation capacityen_US
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.3 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons