Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10550
Title: | ค่าทดแทนความรับผิดชอบในการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายของหน่วยงานทางปกครอง |
Other Titles: | Compensation for liability for the administrative agency's legal act |
Authors: | ธวัชชัย สุวรรณพานิช คงพล คลิ้งทอง, 2525- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี ความรับผิดของราชการ การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความรับผิดของรัฐหรือฝ่ายปกครอง (2) ศึกษาหลักความรับผิดโดยปราศจากความผิดของรัฐหรือฝ่ายปกครองในประเทศฝรั่งเศส และประเทศไทย และ (3) ศึกษาแนวทางที่มีความถูกต้องเหมาะสมและเป็นธรรม ในการพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนความรับผิดในการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายของหน่วยงานทางปกครอง กรณีที่ไม่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดไว้ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสารเป็นหลักทั้งจากหนังสือ วารสาร วิทยานิพนธ์ ตลอดจนคำพิพากษาและคำสั่งของศาลปกครอง ผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิดเกี่ยวกับความรับผิดของรัฐเกิดขึ้นหลังจากการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สิ้นสุดลง ซึ่งมีทฤษฎีเกี่ยวกับความรับผิดของรัฐที่สำคัญแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ ทฤษฎีในส่วนที่ว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดและทฤษฎีในส่วนที่ว่าด้วยความรับผิดโดยปราศจากความผิด (2) ในประเทศฝรั่งเศสความรับผิดในการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐหรือฝ่ายปกครองเป็นไปตามทฤษฎีความรับผิดโดยปราศจากความผิด ซึ่งให้อำนาจตุลพินิจอย่างกว้างแก่ศาลในการทําหนดค่าเสียหาย สําหรับในประเทศไทย กรณีความรับผิดในการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายของหน่วยงานทางปกครอง กรณีที่ไม่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดไว้ ตามแนวคำพิพากษาของศาลปกครอง มีทั้งกรณีที่ศาลกำหนดเงินค่าทดแทนให้โดยยึดถือตามหลักเกณฑ์ที่ออกโดยฝ่ายปกครอง และกรณีที่ศาลพิจารณาถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง และ (3) เพื่อให้การกำหนดเงินค่าทดแทนความรับผิดในการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายของหน่วยงานทางปกครอง กรณีที่ไม่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดไว้ มีความชัดเจน มีความถูกต้องเหมาะสมและเป็นธรรมต่อผู้เสียหายและสังคม ผู้ศึกษาได้เสนอแนะแนวทางในการกำหนดเงินค่าทดแทน โดยให้นำหลักความรับผิดโดยปราศจากความผิดมาใช้ และพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนแก่ผู้เสียหาย โดยคำนึงถึงความเสียหายจริงที่ผู้เสียหายได้รับจากการกระทำของหน่วยงานทางปกครอง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10550 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License