Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10642
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธีระวุธ ธรรมกุล, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorณัฐจิตรา ทองกุ้ง, 2531--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.date.accessioned2023-12-04T02:58:05Z-
dc.date.available2023-12-04T02:58:05Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10642-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ การรับรู้โอกาสเสี่ยง ความรุนแรงของโรค และความคาดหวังต่อการป้องกันวัณโรคปอดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน (2) พฤติกรรมการป้องกันวัณโรคปอดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน และ (3) อิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ การรับรู้โอกาสเสี่ยง ความรุนแรงของโรค และความคาดหวังต่อการป้องกันวัณโรคปอด ต่อพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคปอดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลหนองธง อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่อาศัยอยู่ในตำบลหนองธง อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง จำนวน 183 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับฉลากจากผู้ป่วยโรคเบาหวาน ทั้งหมด 348 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เป็นแบบสอบถาม มีความเชื่อมั่นในส่วนของความรู้เท่ากับ 0.84 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบราค ในส่วนของด้านการรับรู้ และด้านความคาดหวังเท่ากับ 0.861 และ 0.927 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษาพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ในช่วงวัยผู้สูงอายุมีระยะเวลาการป่วยด้วยโรคเบาหวานน้อยกว่า 10 ปี มีระดับน้ำตาลในเลือคฮีโมโกลบินเอวันซี 27 % กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับวัณโรคปอดอยู่ในระดับสูง การรับรู้เกี่ยวกับโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค การรับรู้ความรุนแรงของโรค และความคาดหวังในประสิทธิผลของการตอบสนองในการป้องกันวัณโรคปอดอยู่ในระดับมากที่สุดและความเชื่อมั่นในความสามารถของตนในการป้องกันวัณโรคปอดอยู่ในระดับมาก (2) ส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคปอด อยู่ในระดับดีมาก และ (3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคปอด ได้แก่ เรื่องเพศ การรับรู้โอกาสเสี่ยง และความเชื่อมั่นในความสามารถของตนในการป้องกันวัณโรคปอด โดยสามารถทำนายได้ ร้อยละ 28.4th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)th_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectวัณโรค--การป้องกันและควบคุมth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์th_TH
dc.titleปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคปอดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลหนองธง อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุงth_TH
dc.title.alternativeFactors affecting pulmonary tuberculosis preventive behaviors among diabetic patients in Nong Thong Sub-district, Pa Bon District, Phatthalung Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe cross-sectional survey research aimed to study; (1) personal factors, knowledge, perceived vulnerability, perceived disease severity, and expectations of pulmonary tuberculosis (TB) prevention, (2) pulmonary TB preventive behaviors, and (3) influence of personal factors, knowledge, perceived vulnerability, perceived disease severity and expected pulmonary TB prevention on pulmonary TB preventive behaviors, all among diabetic patients in Nong Thong sub-district, Pa Bon district, Phatthalung province. The study was conducted in a sample of 183 patients randomly selected from all 348 diabetic patients in Phatthalung’s Nong Thong sub-district. Data were collected using a questionnaire with Cronbach's alpha coefficients of 0.864, 0.861 and 0.927 for knowledge, perception and expectation, respectively. The data were then analyzed to determine frequencies, percentages, means, standard deviations, and multiple regression. The results indicated that, among all respondents: (1) most of them were elderly females that had had diabetes for less than 10 years and had HbA1c >7%; they had a high level of knowledge about pulmonary TB, highest levels of perceived vulnerability, perceived disease severity, and expected effectiveness of pulmonary TB prevention, and a high level of perceived self-efficacy of pulmonary TB prevention; (2) most of them had a very good level of pulmonary TB preventive behaviors; and (3) sex, perceived vulnerability, and perceived self-efficacy in pulmonary TB prevention significantly influenced pulmonary TB preventive behaviors – their ability to predict the disease prevention being 28.4 %en_US
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
162052.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.14 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons