Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10707
Title: | การประชาสัมพันธ์ของพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยาในสังกัดกรมทรัพยากรธรณี |
Other Titles: | Public relations of geology museums, Department of Mineral Resources |
Authors: | บุษบา กุศลชู อมรรัตน์ กุศลชู, 2525- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี พิพิธภัณฑ์--การประชาสัมพันธ์ การศึกษาอิสระ--นิเทศศาสตร์ |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาการประชาสัมพันธ์ของพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยาในสังกัดกรมทรัพยากรธรณีในด้าน (1) นโยบายและโครงสร้างการทำงาน (2) แนวทางและวิธีการทำงาน (3) ปัญหาและอุปสรรคในการทำงานและ (4) เสนอแนวทางการประชาสัมพันธ์แก่พิพิธภัณฑ์ซากดึกดำบรรพ์ ธรณีวิทยา และธรรมชาติวิทยา จังหวัดสุราษฏร์ธานี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง โดยเจาะจงเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักที่เกี่ยวข้องกับการทำงานประชาสัมพันธ์ของพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยาในสังกัดกรมทรัพยากรธรณีซึ่งมีผู้เข้าชมจำนวนสูงสุด 4 แห่งจากจำนวนพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยาทั้งหมดซึ่งมี 7 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวนรวมทั้งสิ้นจำนวน 10 คน ประกอบไปด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรณีเขต จำนวน 3 คน ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ 4 คน และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ 3 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า (1) การประชาสัมพันธ์ของพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา ในสังกัดกรมทรัพยากรธรณีทั้ง 4 แห่งไม่มีนโยบายด้านการประชาสัมพันธ์ที่ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรและมีโครงสร้างการทำงานตามสายการบังคับบัญชาแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์และการให้ความสำคัญต่อการประชาสัมพันธ์ของฝ่ายบริหารของแต่ละพิพิธภัณฑ์ (2) แนวทางการดำเนินงานและวิธีการทำงานตามกระบวนการประชาสัมพันธ์ประกอบไปด้วย การวิเคราะห์ประเมินสถานการณ์ของพิพิธภัณฑ์ การวางแผนการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ไปยังกลุ่มเป้าหมายทั้งภายในและภายนอกองค์การ การดำเนินงานตามแผนงาน และการประเมินผลการประชาสัมพันธ์ เน้นด้านภาพลักษณ์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน และเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรณีวิทยา โดยใช้หน่วยงานด้านการท่องเที่ยวในท้องถิ่นเป็นเครือข่ายในการประชาสัมพันธ์ มีการใช้เฟซบุ๊กและสื่อเว็บไซต์ทางการของกรมทรัพยากรธรณีเป็นสื่อหลัก (3) ปัญหาและอุปสรรค์ พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา ในสังกัดกรมทรัพยากรธรณีทั้ง 4 แห่ง มีปัญหาด้านบุคลากรและงบประมาณด้านงานประชาสัมพันธ์ที่ไม่เพียงพอ ยกเว้นในส่วนของศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ไม่พบปัญหาด้านงบประมาณ เนื่องจากเน้นการทำงานประชาสัมพันธ์ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายด้านการท่องเที่ยว (4) แนวทางการประชาสัมพันธ์แก่พิพิธภัณฑ์ซากดึกดำบรรพ์ ธรณีวิทยา และธรรมชาติวิทยา จังหวัดสุราษฏร์ธานีซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ใหม่ล่าสุดที่กำลังจะเปิดให้บริการ ในพ.ศ. 2564 ควรมีนโยบายและจัดโครงสร้างด้านการประชาสัมพันธ์ที่ชัดเจน เพิ่มอัตรากำลังให้เพียงพอต่องานด้านประชาสัมพันธ์ ควรเน้นการประชาสัมพันธ์ในเรื่องการเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านซากดึกดำบรรพ์ทะเลโบราณ โดยเน้นในเชิงการท่องเที่ยวควบคู่ไปด้วย เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การวางแผนการทำเครือข่ายด้านการท่องเที่ยว เพราะจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นจังหวัดที่มีความพร้อมด้านการท่องเที่ยว |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10707 |
Appears in Collections: | Comm-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
166613.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.64 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License