Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10744
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ โรงพยาบาลสิรินธร กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Factors affecting dental health care behaviors among members in the elderly club at Sirindhorn Hospital, Bangkok Metropolitan Administration
Authors: นิตยา เพ็ญศิรินภา, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธีระวุธ ธรรมกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
รัชนี เจริญเจียงชัย, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
โรงพยาบาลสิรินธร
ผู้สูงอายุ--การดูแลทันตสุขภาพ
ฟัน--การดูแลและสุขวิทยา
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ (2) ปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม(3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม กับพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพ และ (4) ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ โรงพยาบาลสิรินธรกรุงเทพมหานครประชากรที่ศึกษา เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลสิรินธร ที่มาเข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อยหนึ่งครั้งใน พ.ศ. 2562 จำนวน 865 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 150 คน โดยการสุ่มอย่างง่ายเครื่องมือเป็นแบบสอบถามมีความเที่ยงระหว่าง 0.637-0.933 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไค-สแควร์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า (1) พฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุอยู่ในระดับสูง (2) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อยู่ในวัยสูงอายุตอนต้น (อายุ 60-70 ปี) สถานภาพสมรส จบปริญญาตรีขึ้นไป รายได้น้อยกว่า 5,000 บาทต่อเดือน อาชีพหลักไม่ได้ทำงาน ปัจจัยนำอยู่ในระดับสูง ปัจจัยเอื้อและปัจจัยเสริมอยู่ในระดับปานกลาง (3) ปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านรายได้ ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (4) ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ เรียงลำดับอิทธิพลจากมากไปน้อย ได้แก่ การได้รับข้อมูลข่าวสารการดูแลทันตสุขภาพจากชมรมผู้สูงอายุ การรับรู้ประโยชน์ของการดูแลทันตสุขภาพและการเข้าถึงอุปกรณ์การดูแลทันตสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยร่วมกันทำนายพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพได้ร้อยละ 26.7
Description: วิทยานิพนธ์ (ส.ม. (สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10744
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.76 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons