Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10757
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุทธีพร มูลศาสตร์, อาจารย์ที่ปรึกษา | th_TH |
dc.contributor.advisor | กฤษณาพร ทิพย์กาญจนเรขา, อาจารย์ที่ปรึกษา | th_TH |
dc.contributor.author | เพชรรัตน์ ทัดเทียม, 2516- | - |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-12-08T03:29:47Z | - |
dc.date.available | 2023-12-08T03:29:47Z | - |
dc.date.issued | 2559 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10757 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.(การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและความต้องการการดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจร่วม 2) พัฒนารูปแบบการจัดการรายกรณีเพื่อประสานการดูแลจากโรงพยาบาลสู่ชุมชนสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจร่วม 3) ประเมินผลรูปแบบการจัดการรายกรณีเพื่อประสานการดูแลจากโรงพยาบาลสู่ชุมชนสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจร่วมที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างแบ่งตามระยะการพัฒนารูปแบบ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาปัญหาและความต้องการการดูแล กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจร่วมและผู้ดูแล จำนวน 22 คน ในอำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบฯ กลุ่มตัวอย่างเป็นแพทย์และพยาบาลจำนวน 12 คน และระยะที่ 3 การประเมินผลการใช้รูปแบบฯ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจร่วม จำนวน 5 คน กลุ่มตัวอย่างถูกคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ 1) แนวทางสนทนากลุ่มเพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการการดูแล 2) แนวทางสนทนากลุ่มเพื่อพัฒนารูปแบบฯ 3) แบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการตนเอง ซึ่งมีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา .94 และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค .82 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติทดสอบวิลคอกชันไชน์แรงค์ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาและความต้องการการดูแลสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจร่วม ได้แก่ ด้านร่างกาย จิตใจ จิตวิญญาณ สังคม และ การเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ 2) รูปแบบการจัดการรายกรณีเพื่อประสานการดูแลจากโรงพยาบาลสู่ชุมชนฯ ประกอบด้วย เป้าหมายการจัดการรายกรณีคือผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีโรคหลอดเลือดหัวใจร่วมทุกราย โดยพยาบาลวิชาชีพจะทำหน้าที่แจ้งข้อมูลผู้ป่วยให้พยาบาลผู้จัดการรายกรณีเพื่อจัดลำดับความเร่งด่วนตามเกณฑ์ ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีประวัติเจ็บเค้นหน้าอกและ/หรือควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ ใช้ยาไม่ถูกต้อง อยู่บ้านคนเดียว อ่านหนังสือไม่ออก ผู้จัดการรายกรณีจะประเมินความต้องการการดูแลก่อนประสานงานทีมสหสาขาวิชาชีพ และส่งข้อมูลให้พยาบาลวิชาชีพในชุมชน เพื่อวางแผนการดูแล เยี่ยมบ้าน และประเมินผลร่วมกัน 3) หลังได้รับการจัดการรายกรณีตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการจัดการตนเองดีกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีค่าเฉลี่ยของความดันเลือดแดงอยู่ในเกณฑ์ปกติไม่แตกต่างกับก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน --วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | ความดันเลือดสูง--โรค--การดูแล | th_TH |
dc.subject | หลอดเลือดโคโรนารีย์--โรค | th_TH |
dc.subject | ผู้ป่วย--ความร่วมมือในการรักษา | th_TH |
dc.title | การพัฒนารูปแบบการจัดการรายกรณีเพื่อประสานการดูแลจากโรงพยาบาลสู่ชุมชนสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจร่วม | th_TH |
dc.title.alternative | The development of a case management model for care collaboration from hospital to community for hypertension patients with coronary artery disease | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research and development were: 1) to study problems and needs of care for hypertension patients with coronary artery disease, 2) to develop a case management model for care collaboration from hospital to community for hypertension patients with coronary artery disease, and 3) to evaluate the developed case management model for care collaboration from hospital to community for hypertension patients with coronary artery disease. The sample was classified according to the study phases. 1) Phase I: Study on problems and needs of care, the sample was 22 hypertension patients with coronary artery disease and caregivers at Yang Chum Noi district, Sisaket province. 2) Phase II: Model development, 12 doctors and nurses were included. 3) Phase III: Evaluation on the effectiveness of model, 5 hypertension patients with coronary artery disease were studied. The sample was selected by purposive sampling. The research instruments comprised 1) a focus group guideline for study problems and needs of care, 2) a focus group guideline for model development, and 3) a self-management questionnaire that content validity indexes were .94 and Cronbach’s alpha coefficient was .82. Quantitative data was analyzed by descriptive statistics and Wilcoxon singed rank test. Content analysis was used to analyze qualitative data. The findings revealed as follows. 1) Hypertension patients with coronary artery disease had problems and needs of care in terms of physical, mental, spiritual, and social aspects and access to a healthcare service system. 2) The model comprised the following. Hypertension patients with coronary artery disease were target for case management. Professional nurses reported patients’ sign and symptoms such as chest pain and/or uncontrolled blood pressure, mistaken medication, living alone, or illiteracy to nursing managers. Nursing managers assessed priority for needs of care for these patients before coordinating with a multidisciplinary team as well as community nurses so nurses could plan, do home visits, and evaluate. 3) After implementing case management model, self-management behaviors of hypertension patients with coronary artery disease was significantly better than before implementation (p >.05). The mean arterial pressure was at the normal level, and there was no significantly different between before and after implementation (p >.05) | en_US |
Appears in Collections: | Nurse-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 23.9 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License