Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10812
Title: แนวทางการส่งเสริมการผลิตปาล์มน้ำมันตามหลักการจัดการสวนปาล์มน้ำมันของเกษตรกร อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
Other Titles: Entension guidelines of oil palm production according to oil palm plantation management principle for farmer in Thung Yai District, Nakhon Si Thammarat Province
Authors: เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
โสเพ็ญ เสริมผล, 2532-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ปาล์มน้ำมัน--ไทย--นครศรีธรรมราช
ปาล์มน้ำมัน--การปลูก
ปาล์มน้ำมัน--การผลิต
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) สภาพการผลิตและเหตุผลในการปลูกปาล์มน้ำมันของเกษตรกร (3) การจัดการตามหลักการจัดการสวนปาล์มน้ำมันของเกษตรกร (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการผลิตปาล์มน้ำมันของเกษตรกร (5) การได้รับ และความต้องการในรูปแบบและวิธีการส่งเสริมการจัดการสวนปาล์มน้ำมันของเกษตรกร ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน ร้อยละ 77.1 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 48.61 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกสถาบันเกษตรกร มีสมาชิกในครัวเรือน เฉลี่ข 4.24 คน เกษตรกร ไม่จ้างแรงงานในการปลูกปาล์มน้ำมัน มีรายได้ เฉลี่ย 104,980 บาทในรอบฤดูกาล (2) การปลูกปาล์มน้ำมันพบว่า ลักษณะพื้นที่ปลูกเป็นพื้นที่ลุ่ม ส่วนมากเป็นดินร่วนปนดินเหนียว พันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ใช้ คือ เทเนอรา (D X P) โดยผลผลิตปาล์มน้ำมัน เฉลี่ย 1.97 ตันต่อไร่ต่อปี เหตุผลในการปลูกปาล์มน้ำมันของเกษตรกร คือ ปาล์มน้ำมันเป็นพืชปลูกง่ายโตเร็ว (3) การจัดการสวนปาล์มน้ำมันของเกษตรกรส่วนใหญ่มีการเลือกพื้นที่ที่ดินเหมาะสมในการปลูก มีการตัดแต่งแบ่งถนนในแปลงอย่างเหมาะสมเพื่อขนส่งผลผลิตและลดการเหยียบย่ำดิน มีการเลือกต้นกล้าพันธุ์ในการนำมาปลูกที่มีลักษณะสมบูรณ์แข็งแรงอายุระหว่าง 8-12 เดือน (4) ปัญหาของเกษตรกรพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ ไม่มีการจดบันทึกข้อมูลต่างๆ ได้แก่ สภาพแวดล้อม พันธุ์ปาล์ม วันปลูก วันใส่ปุ๋ยอัตราการใช้ วันใช้สารเคมี วันศัตรูพืชระบาด ค่าใช้จ่าย รายได้ และปริมาณผลผลิต (5) เกษตรกรมีความต้องการช่องทางในการส่งเสริมระดับมากที่สุด จากสื่อบุคคล คือหน่วยงานราชการ สื่อสิ่งพิมพ์ คือ แผ่นพับ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ คืออินเตอร์เน็ต
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562.
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10812
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.62 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons