Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10831
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorพลสราญ สราญรมย์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorสุกัญญา บุญสวัสดิ์, 2525--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-12-14T06:35:10Z-
dc.date.available2023-12-14T06:35:10Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10831-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการผลิตผักของเกษตรกรในประเด็นต่อไปนี้ (1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) สภาพการผลิตและตลาดผัก (3) การปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัย (4) ความต้องการในการส่งเสริมการผลิตพืชผักตามมาตรฐานความปลอดภัย และ (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการผลิตผักของเกษตรกรตามมาตรฐานความปลอดภัย ประชากรในการวิจัย คือ เกษตรกรผู้ปลูกผักในจังหวัดชลบุรี จำนวน 275 ราย แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรและรวมกลุ่มขายผลผลิต 62 ราย กลุ่มที่ 2 เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรแยกขายผลผลิต 118 ราย และกลุ่มที่ 3 เกษตรกรที่ไม่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรและไม่รวมกลุ่มขายผลผลิต 95 ราย กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ ที่ความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างรวมจำนวน 165 ราย โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างตามกลุ่มประชากร กลุ่มละ 65 รายเท่าๆ กัน การสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และการวิเคราะห์ความแปรปรวนผลการวิจัยพบว่า (1) ค่าเฉลี่ยอายุของเกษตรกรมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยเกษตรกรกลุ่ม 3 มีอายุเฉลี่ยสูงสุด และเกษตรกรกลุ่ม 1 อายุเฉลี่ยน้อยที่สุด (2) รายได้และต้นทุนการผลิตในการปลูกผักมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยกลุ่มที่ 1 รายได้เฉลี่ยเท่ากับ 35,249 บาทต่อปี ต้นทุนเฉลี่ย 7,752 บาทต่อไร่ กลุ่มที่ 2 รายได้ในการปลูกผักเฉลี่ย 33,375 บาทต่อปี ต้นทุนเฉลี่ย 9,966 บาทต่อไร่ และกลุ่มที่ 3 รายได้จากการปลูกผักเฉลี่ย 28,684 บาทต่อปี ต้นทุนเฉลี่ย 9,650 บาทต่อไร่ สำหรับการจำหน่ายผัก กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 ส่วนใหญ่จำหน่ายให้พ่อค้าที่รับซื้อ ส่วนกลุ่มที่ 3 จำหน่ายในตลาดเกษตรกร (3) เกษตรกรทั้ง 3 กลุ่ม ไม่แตกต่างกันทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 โดยส่วนใหญ่ปฏิบัติตามหลักการผลิตผักตามมาตรฐานความปลอดภัย (4) เกษตรกรทั้ง 3 กลุ่ม ส่วนใหญ่ต้องการการส่งเสริมด้านการจัดการคุณภาพในการผลิตก่อนเก็บเกี่ยว การใช้และเก็บรักษาสารเคมีอย่างถูกต้อง สำหรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีต้องการแบบรายบุคคล รูปแบบการส่งเสริมเกษตรกร กลุ่มที่ 1 และ 2 ต้องการแบบโรงเรียนเกษตรกร กลุ่มที่ 3 ต้องการแบบศูนย์เรียนรู้ชุมชน และ (5) เกษตรกรทั้ง 3 กลุ่ม ส่วนใหญ่มีปัญหาเกี่ยวกับโรค แมลง ดินเสื่อมโทรม ผลผลิตราคาตกต่ำ และการรวมกลุ่มผู้ปลูกผัก จึงมีข้อเสนอแนะว่าเกษตรกรควรรวมกลุ่มกันเพื่อผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ร่วมกัน การตรวจสอบแปลงของตนอยู่เสมอ การปรับปรุงบำรุงรักษาดิน นอกจากนี้รัฐควรจัดการด้านราคาและการให้ความรู้ในการทำเกษตรตามมาตรฐานความปลอดภัยแก่เกษตรกรอย่างทั่วถึงและต่อเนื่องth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectผัก--มาตรฐานการผลิตth_TH
dc.subjectผัก--การผลิต--ไทย--ชลบุรีth_TH
dc.titleการผลิตผักของเกษตรกรในจังหวัดชลบุรีตามมาตรฐานความปลอดภัยth_TH
dc.title.alternativeVegetable production according to safety standardization by farmers in Chon Buri Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study and compare vegetable production by farmers in the following aspects (1) socio-economic status of farmers, (2) situations of vegetable production and marketing, (3) the practice according to safety standardization, (4) the extension needs for vegetable production according to safety standardization, and (5) problems and suggestions in vegetable production according to safety standardization. The population in the research consisted of 275 vegetable growers dividing into three groups such as group 1: 62 registered farmers who were group members for selling products, group 2: 118 registered farmers who sold products separately, and group 3: 95 non-registered farmers who were not group members. The sample size was determined by using Taro Yamane’s formula with an error of 0.05 level and stratified random sampling was applied for selecting the total of 163 samples, 65 samples for each group equally. Data were collected by using a questionnaire and analyzed to calculate frequency, percentage, mean, standard deviation, minimum value, maximum value, and analysis of variance. The research results found that (1) the age averages of farmers were statistical significant differences at 0.05 level, group 3 farmers were oldest and group 1 farmers were youngest. (2) There were statistical significant differences at 0.05 level of vegetable income and cost, the average annual incomes per rai (1 rai = 1,600 square meters) from selling vegetable of three groups were 35,249, 33,375, and 28,684 baht respectively, while average costs per rai were 7,762, 9,966, and 9,650 baht respectively. For selling vegetable produce, the majority of group 1 and group 2 farmers sold the produce to the merchant and group 3 farmers sold to farmer market. (3) There were no statistically significant differences between three groups by the majority of all farmer groups had performed the practice according to principle of safety standardization for vegetable production. (4) Most of all three farmer groups had extension needs in quality production management before harvesting, proper chemical application and storage; for technology transfer, they would like to have personal contact; and the extension pattern, group 1 and 2 farmers would like to have a farmer school, while group 3 farmers needed in the form of community learning center. Furthermore (5) the majority of all three groups faced the problems in diseases, insects, soil fertility, low price of produce, and grouping farmers, therefore, they suggested that the farmers should formulate a group for production and selling the produce, frequent vegetable plot inspection, and soil improvement. Moreover the government agency should manage price of produce and transfer knowledge of safety standardization for farm practice to farmers in all areas continuouslyen_US
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.59 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons