Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10838
Title: การตัดสินใจปลูกถั่วลิสงหลังนาของเกษตรกร ในตำบลประศุก อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี
Other Titles: Farmers' decision making in growing peanuts after rice harvest in Prasuk Sub-District, Inburi District, Sing Buri Province
Authors: สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
พลสราญ สราญรมย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
อนิตรา นาวีระ, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ถั่วลิสง--การปลูก
การตัดสินใจ
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) สภาพการผลิตถั่วลิสงหลังนาของเกษตรกร (3) ความรู้และแหล่งความรู้ในการปลูกถั่วลิสงหลังนาของเกษตรกร (4) การตัดสินใจปลูกถั่วลิสงหลังนาของเกษตรกร (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะการตัดสินใจปลูกถั่วลิสงหลังนาของเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรร้อยละ 52.4 เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 51.72 ปี ร้อยละ 66.9 เป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกร โดยร้อยละ 36.1 เป็นลูกค้า ธ.ก.ส.เกษตรกร มีประสบการณ์ในการปลูกถั่วลิสงหลังนาเฉลี่ย 19.17 ปี มีรายได้จากการปลูกถั่วลิสงหลังนาเฉลี่ยปีละ 82,524.10 บาท มีจำนวนแรงงานในครัวเรือน เฉลี่ย 2 คน มีพื้นที่ปลูกถั่วลิสงหลังนาเฉลี่ย 7.85 ไร่ (2) เกษตรกร ร้อยละ 100.0 ใช้พันธุ์สุโขทัย 38 (สข.38) โดยใช้เมล็ดพันธุ์ 25 - 30 กิโลกรัมต่อไร่ มีการแช่เมล็ดพันธุ์และใช้สารเคมีคลุกเมล็ดก่อนปลูก ร้อยละ 100.0 มีการไถเตรียมแปลง ร้อยละ 71.1 มีการปรับปรุงบำรุงดิน ร้อยละ 100.0 ปลูกโดยการใช้เครื่องหยอด ร้อยละ 93.4 ใช้ระยะปลูก 30 x 10 เซนติเมตร ร้อยละ 100.0 ไม่มีการให้น้ำถั่วลิสง ร้อยละ 86.1 มีการใส่ปุ๋ยเคมี ร้อยละ 89.8 และ 93.4 ใช้สารป้องกัน กำจัดโรคและสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ตามลำดับ ร้อยละ 100.00 (3) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการปลูกถั่วลิสงหลังนาอยู่ในระดับมาก โดยแหล่งความรู้ของเกษตรกรจากสื่อบุคคลอยู่ในระดับมากที่สุด (4) ระดับความสำคัญของปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการตัดสินใจปลูกถั่วลิสงหลังนาของเกษตรกรรวมอยู่ในระดับปานกลาง (5) ปัญหาของเกษตรกร โดยรวมอยู่ในระดับน้อย ประเด็นที่มีระดับปัญหามากที่สุดได้แก่ ปัจจัยเศรษฐกิจ คือ ราคาผลผลิตไม่แน่นอน และข้อเสนอแนะ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ประเด็นที่มีระดับข้อเสนอแนะมากที่สุดได้แก่ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรควรมุ่งเน้น ให้ความรู้เรื่องการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และพัฒนาคุณภาพผลผลิต (ค่าเฉลี่ย 4.13) และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ควรให้คำปรึกษาและแนะนำการผลิตแก่เกษตรกรอย่างต่อเนื่อง
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10838
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.67 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons