Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10890
Title: การพยากรณ์ปริมาณนำเข้ากาแฟของประเทศไทย: การศึกษาเชิงประจักษ์ด้วยวิธีของบ็อกซ์-เจนคินส์
Other Titles: Forecasting import qunatity of coffee of Thailand : the empirical study using Box-Jenkins approach
Authors: เฉลิมพล จตุพร
ภีมฟ้า รัศมีเนตร, 2535-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
กาแฟ--การนำเข้า
พยากรณ์แบบบอกซ์-เจนกินส์
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์การผลิต การตลาด และการค้ากาแฟของประเทศไทย และ (2) คาดการณ์ปริมาณนําเข้ากาแฟของประเทศไทย ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2504 รวมทั้งสิ้น 15 เดือน การศึกษาใช้ข้อมูลอนุกรมเวลารายเดือน เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2551 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2563 รวมทั้งสิ้น 153 เดือน และพยากรณ์ด้วยวิธีบ็อกซ์-เจนกินส์หรือแบบจําลอง SARIMA(p,d,q)(P,D,Q)s ผลการศึกษาเชิงประจักษ์ พบว่า (1) ปริมาณการผลิตกาแฟในประเทศไทยมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ปริมาณนําเข้ากาแฟมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น สาเหตุจากปัญหาด้านราคาตกต่ำ โดยภาครัฐและภาคธุรกิจยังคงให้ความสําคัญต่อการพัฒนาธุรกิจกาแฟเพื่อสร้างมาตรฐานให้กับอุตสาหกรรมกาแฟไทย เพิ่มเอกลักษณ์ ความโดดเด่น และสามารถขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ต่อไปได้ สําหรับการนําเข้ากาแฟของประเทศไทยส่วนใหญ่ได้นําเข้าจากเวียดนาม ทั้งนี้ ประเทศไทยส่งออกกาแฟในลักษณะผลิตภัณฑ์สําเร็จรูปไปมาเลเซีย และ (2) ตัวแบบที่เหมาะสมต่อการพยากรณ์มากที่สุด คือ แบบจําลอง SARIMA(0,1,2)(0,1,1)12 และผลการพยากรณ์ปริมาณนําเข้า กาแฟของประเทศไทย พบว่า ไตรมาสสุดท้ายปี พ.ศ. 2563 การนําเข้ากาแฟมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ร้อยละ 33.57 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา สําหรับการนําเข้ากาแฟของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2554 พบว่า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.87 เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10890
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.96 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons