Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10912
Title: ปัญหาการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาในชั้นสอบสวน ตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562
Other Titles: Problem in criminal dispute mediation under the Dispute Mediation Act B.E.2562 in inquiry stage
Authors: ปวินี ไพรทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธนกร คารวพงศ์, 2535-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม --การศึกษาเฉพาะกรณี
การไกล่เกลี่ย--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การระงับข้อพิพาท (กฎหมาย)--ไทย
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎี และหลักเกณฑ์ของการดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาในชั้นสอบสวน ตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 (2) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาการใช้บังคับของพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 (3) เพื่อศึกษา และวิเคราะห์การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาของสหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐฝรั่งเศส (4) เพื่อศึกษาแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงหลักเกณฑ์ และวิธีการในการดำเนินการไกล่เกลี่ย ตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิจัยเอกสาร โดยทำการค้นคว้าในรูปแบบของหนังสือ ตำรา วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ ตัวบทกฎหมาย คำพิพากษาศาลฎีกา คำสั่ง ข้อกำหนด ระเบียบ ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งศึกษาในเรื่องแนวคิด ทฤษฎี และหลักเกณฑ์ของการดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาในชั้นสอบสวน รวมถึงเจตนารมณ์ของการดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ตลอดจนศึกษาเปรียบเทียบเกี่ยวกับการดำเนินไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาของสหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐฝรั่งเศส เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายไทยในเรื่องดังกล่าวต่อไป ผลการศึกษาพบว่า (1) เมื่อมีการประกาศพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 มาใช้บังคับกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาในชั้นสอบสวน ได้บัญญัติเกี่ยวกับฐานความผิดที่สามารถเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยได้โดยเฉพาะ และการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาในชั้นสอบสวนต้องมีผู้ไกล่เกลี่ยเป็นคนดำเนินกระบวนการภายใต้ความสมัครใจของคู่กรณี โดยผู้ไกล่เกลี่ยในชั้นสอบสวนกฎหมายได้บัญญัติเรื่องคุณสมบัติไว้ชัดเจน ทั้งได้บัญญัติเกี่ยวการยุติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทไว้หลายประการ อาทิ เมื่อผู้เสียหายยื่นฟ้องคดีอาญาต่อศาลไม่ว่าก่อนหรือหลังการไกล่เกลี่ยข้อพาท แต่อย่างไรก็ตาม (2) บทบัญญัติเกี่ยวกับฐานความผิดที่สามารถไกล่เกลี่ยข้อพิพาทดังกล่าว ยังไม่สมบูรณ์เนื่องจากยังมีข้อบกพร่องเกี่ยวกับฐานความผิดบางฐานที่เข้าลักษณะอันสามารถไกลเกลี่ยได้ แต่ไม่ได้ถูกบัญญัติไว้ หรือจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชั้นสอบสวน หรือจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับการยุติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเนื่องด้วยผู้เสียหายฟ้องคดีต่อศาลล้วนแล้วเป็นปัญหาที่เห็นควรแก้ไขทั้งสิ้น ทำให้การบังคับใช้กฎหมายไม่สัมฤทธิ์ผลเท่าที่ควร (3) โดยในส่วนของสหรัฐอเมริกาได้กำหนดให้ความผิดเกี่ยวกับการกระทำโดยประมาทสามารถเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยได้ และในส่วนของสาธารณรัฐฝรั่งเศสได้บัญญัติให้พนักงานอัยการเป็นผู้ไกล่เกลี่ยในชั้นสอบสวน (4) จึงเห็นควรให้มีการเพิ่มเติมบทบัญญัติความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติว่าด้วยคุณสมบัติของผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชั้นสอบสวน และยกเลิกบทบัญญัติว่าด้วยการยุติการไกล่เกลี่ยกรณีผู้เสียหายยื่นฟ้องต่อศาล ตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10912
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
166852.pdfเอกสารฉบับเต็ม91.59 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons