Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10969
Title: | ความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการจัดการสภาพแวดล้อมบริเวณหาดทรายแก้ว อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า - หมู่เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง |
Other Titles: | Tourist expectations and satisfaction with environmental management at Sai Kaew Beach, Khao Laem Ya - Mu Koh Samet National Park, Rayong Province |
Authors: | ดุสิต เวชกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา ชัยวัฒน์ คงสม, อาจารย์ที่ปรึกษา กรแก้ว ผัดผ่อง, 2509- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | สวน--การจัดและตกแต่ง อุทยานแห่งชาติ--ไทย--ระยอง อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า--ไทย--ระยอง. |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลทั่วไปของนักท่องเที่ยว 2) ระดับความคาดหวังของนักท่องเที่ยวต่อการจัดการสภาพแวดล้อมบริเวณหาดทรายแก้ว 3) ระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการจัดการสภาพแวดล้อมบริเวณหาดทรายแก้ว 4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการจัดการสภาพแวดล้อมบริเวณหาดทรายแก้ว และ 5) ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะด้านการจัดสภาพแวดล้อมบริเวณหาดทรายแก้ว ประชากรสำหรับการวิจัยเชิงสำรวจ คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ที่มาท่องเที่ยว จำนวน 1,000 ราย โดยกำหนดจำนวนตัวอย่างจากตารางของเครซีและมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 278 คน ที่ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 โดยเลือกใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนพฤษภาคม 2561 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์เพื่อทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า 1) นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 20-30 ปี อาชีพพนักงานบริษัท มีรายได้เดือนละ 10,001-20,000 บาท การศึกษาปริญญาตรี และสถานภาพโสด 2) ความคาดหวังของนักท่องเที่ยวต่อการจัดการสภาพแวดล้อมบริเวณหาดทรายแก้ว ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยดังนี้ ด้านสวัสดิภาพและความปลอดภัย ด้านสิ่งดึงดูดใจ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและสาธารณูปโภค ด้านการคมนาคม และด้านสุดท้ายด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม 3) ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการจัดการสภาพแวดล้อมบริเวณหาดทรายแก้ว ภาพรวมอยู่ในระดับมากโดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านสวัสดิภาพและความปลอดภัย ด้านสิ่งดึงดูดใจ ด้านการคมนาคม ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและสาธารณูปโภค และด้านสุดท้ายด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม 4) เพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และสถานภาพสมรส มีความสัมพันธ์กับความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการจัดการสภาพแวดล้อมบริเวณหาดทรายแก้ว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนรายได้ ไม่มีความสัมพันธ์กับความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการจัดการสภาพแวดล้อมบริเวณหาดทรายแก้ว 5) สำหรับข้อเสนอแนะควรขยายถนน และจัดทำป้ายบอกเส้นทางเข้า - ออก ให้ชัดเจน และควรเพิ่มเจ้าหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยให้มากขึ้น |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10969 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
167106.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.33 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License