Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10998
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอภิญญา วนเศรษฐth_TH
dc.contributor.authorอรรถศาสตร์ สมสุข, 2536-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-12-28T07:49:43Z-
dc.date.available2023-12-28T07:49:43Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10998en_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปเกี่ยวกับระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ (2) เพื่อศึกษาปัจจัยกำหนดระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเฉลี่ยรายจังหวัดการศึกษาครั้งนี้เก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ เป็นข้อมูลรายปีภาคตัดขวางแบบต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 - 2562 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นภาพรวมรายจังหวัด 76 จังหวัด (ยกเว้นกรุงเทพมหานคร) และแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ (1) การวิเคราะห์เชิงพรรณนาเกี่ยวกับภาพรวมของระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ (2) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่กำหนดระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเฉลี่ยรายจังหวัด เปรียบเทียบระหว่างแบบจำลอง Fixed Effect และ Random Effect และทดสอบเลือกแบบจำลองที่เหมาะสมด้วย Hausman Test ผลการศึกษาพบว่า (1) ในปี พ.ศ. 2561 - 2562 ระดับผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ส่วนหนึ่งเชื่อได้ว่าหากหน่วยงานใดได้ค่าคะแนนต่ำ ก็น่าจะเกิดความไม่มีคุณธรรมและความไม่โปร่งใสขึ้นในหน่วยงานนั้น (2) ผลการประมาณค่าแบบจำลอง Random Effect พบว่ ปัจจัยที่กำหนดระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเฉลี่ยรายจังหวัด ได้แก่ สัดส่วนของประชากรที่อายุ 15 - 59 ปี (วัยแรงงาน) โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 แสดงให้เห็นว่าประชากรวัยแรงงานมากขึ้น จะทำให้ระดับคุณธรรมและความโปร่งใสลดลง ซึ่งผู้วิจัยเห็นว่าเป็นผลจากการที่ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศกำลังพัฒนา มักจะให้ความสำคัญกับเรื่องของปากท้องมากกว่าเรื่องสิทธิทางการเมือง, สัดส่วนของประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไป ที่มีการใช้งานอินเทอร์เน็ต โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 แสดงให้เห็นว่าการที่ประชาชนเข้าถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ตได้มากขึ้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีคุณธรรมและความโปร่งใสในการบริหารงานมากขึ้น สอดคล้องกับทฤษฎีตัวการตัวแทนและสัดส่วนคนจน (ด้านรายจ่าย) รายจังหวัด โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.1 ซึ่งสะท้อนว่าการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ขาดคุณธรรมและความโปร่งใส จะทำให้สัดส่วนคนจนเพิ่มมากขึ้นth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectการปกครองท้องถิ่น--การทุจริตและประพฤติมิชอบth_TH
dc.subjectการบริหารรัฐกิจth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์th_TH
dc.titleปัจจัยกำหนดระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นth_TH
dc.title.alternativeFactors determining integrity and transparency level of local governmenten_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to (1) study the level of integrity and transparency in the operations of local governments and (2) study the factors determining the average level of integrity and transparency in the operations of local governments of each province. In this study, the annual secondary panel data of local governments, in aggregate, of 76 provinces (except Bangkok) between 2018 - 2019 were collected. The study was divided into two parts: (1) the descriptive analysis of the overall level of integrity and transparency in the operations of local governments and (2) the relationship analysis of the factors determining the average level of integrity and transparency in the operations of local governments of each province, also comparing between fixed effect and random effect model and choosing an appropriated model by Hausman test. The results of the study showed that (1) the trend of integrity and transparency level in the operations of local governments was increased between 2018 to 2019. It was believed that if an organization had a low score, such an organization would lack integrity and transparency. (2) The estimation of the random effect model showed that the factors determining the average level of integrity and transparency in the operations of local governments of each province were the proportion of the population aged 15 - 59 years (workforce age) which had a negative relationship at a 0.01 statistical significant level. This exhibited that if the workforce population increased, the level of integrity and transparency would be decreased. The author perceived that this occurred as a result of the majority of people in the undeveloped countries tend to focus more on living than political rights. The proportion of the population aged above 6 years who used the internet had a positive relationship at a 0.01 statistical significant level. This showed that the more the ability of people to access the Internet, the more the integrity and transparency of local government would be. This was in line with the agency theory. The proportion of the poor people (expenditure) within the province had a negative relationship at a 0.1 statistical significant level. This reflected that the administration of local government without integrity and transparency would increase the proportion of poor people.en_US
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
168311.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.7 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons