Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11260
Title: | แนวทางพัฒนาการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรด้วยแอปพลิเคชันสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
Other Titles: | Guidelines for the development of the registration of the farmers and registration list modification using farmbook application of the agricultural extensionists in Northeast Region |
Authors: | พลสราญ สราญรมย์ จารุพรรธน์ เพ็งจันทร์, 2528- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ |
Keywords: | เกษตรกร--ทะเบียน การส่งเสริมการเกษตร--ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร วิทยานิพนธ์ |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไปของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร 2) ความรู้ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรต่อการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรด้วยแอปพลิเคชันสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัล 3) ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรต่อการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรด้วยแอปพลิเคชันสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัล 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรต่อการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรด้วยแอปพลิเคชันสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัล 5) แนวทางการพัฒนาการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรด้วยแอปพลิเคชันสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัล ประชากรที่ศึกษา มี 2 กลุ่มคือ 1) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในเขตภาคะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 2,399 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ได้จำนวน 147 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณา ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ 2) เจ้าหน้าที่ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจำนวน 60 รายคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเจาะจง จำนวน 6 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรร้อยละ 63.3 เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 37.41 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาปริญญาตรี มีตำแหน่งระดับปฏิบัติการ รับผิดชอบเฉลี่ย 2 ตำบล และเฉลี่ย 2,149 ครัวเรือน ร้อยละ 56.5 ไม่เคยเข้ารับการอบรมจากกรมส่งเสริมการเกษตร ร้อยละ 97.3 เดยอบรมการใช้งานแอปพลิเคชันฯ ให้เกษตรกรด้วยวิธีสอนรายบุคคล ร้อยละ 86.34 เคยใช้แอปพลิคชันปรับปรุงข้อมูลให้เกษตรกรเนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 2) เจ้าหน้าที่มีความรู้เกี่ยวกับแอปพลิเคชันอยู่ในระดับปานกลาง แหล่งความรู้ที่ได้รับอยู่ในระดับปานกลาง โดยได้รับจากสื่อออนไลน์ในระดับมากที่สุด 3) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเห็นด้วยในระดับมากต่อแอปพลิเคชันว่าช่วยลดภาระงานในการบันทึกข้อมูลทะเบียนเกษตรกร 4) ปัญหาในการใช้งานแอปพลิเคชันอยู่ในระดับมาก คือ ด้านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตสำหรับข้อเสนอแนะที่อยู่ในระดับมาก คือ ควรมีการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เรื่องการใช้งานแอปพลิเคชันฯ ที่เกษตรกรเข้าถึงได้ง่าย 5) แนวทางการพัฒนาการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรด้วยแอปพลิเคชันสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลได้แก่ (1) ด้านความรู้ เพิ่มหลักสูตรการอบรมการใช้งานแอปพลิเคชันให้แก่ข้าราชการใหม่และในงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับเขต (2) ด้านการประชาสัมพันธ์ ได้แก่ จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้มีความหลากหลายและเผยแพร่ผ่านช่องทางออนไลน์ และจัดทำคู่มือการใช้งานหรือวีดีโอการใช้งานในแอปพลิเคชัน (3) ด้านแอปพลิเคชัน ได้แก่ ปรับปรุงวิธีการกรอกข้อมูลให้ใช้งานง่าย เพื่อให้เหมาะแก่ผู้สูงอายุ และมีการเชื่อมโยงข้อมูลกับฐานข้อมูลอื่นๆ และ (4) ด้านการส่งเสริมส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบจำนวนครัวเรือนเกษตรกรมากควรเน้นให้ใช้แอปพลิเคชันเพื่อช่วยในการขึ้นทะเบียน และส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ทราบถึงประโยชน์หรือความสำคัญของแอปพลิเคชันเพื่อให้ถ่ายทอดให้เกษตรกรใช้แอปพลิเคชันขึ้นทะเบียนได้ด้วยตนเองต่อไป |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11260 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
169156.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 15.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License