Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11358
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธีรเดช มโนลีหกุล, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorเกศกนก ทุณพัฒน์, 2535--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2024-02-01T08:23:56Z-
dc.date.available2024-02-01T08:23:56Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11358-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับใช้พระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 ศึกษากรณีพื้นที่ชุมชนบ้านกลาง หมู่ที่ 6 ตำบลบางเตย อำเภอเมือง จังหวัดพังงา มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ของการบริหารจัดการป่าชุมชนและหลักกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารจัดการป่าชุมชนในประเทศไทย (2) เพื่อศึกษาปัญหาทางกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายการบริหารจัดการป่าชุมชนในประเทศไทย (3) เพื่อเปรียบเทียบปัญหาทางกฎหมาย และการบังคับใช้กฎหมายการบริหารจัดการป่าชุมชนในประเทศไทย ประเทศจีน ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศญี่ปุ่น และประเทศอินเดีย และ (4) เพื่อสรุปและเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับใช้พระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 ให้ชุมชนได้ร่วมกับรัฐในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติในป่าชุมชนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาค้นคว้าอิสระในครั้งนี้เป็นเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) โดยการค้นคว้าและรวบรวมหนังสือ ตำราเอกสาร พระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 บทความทางวิชาการที่เกี่ยวกับป่าชุมชน ทั้งในส่วนปัญหาทางกฎหมาย และการบังคับใช้กฎหมายการบริหารจัดการป่าชุมชนในประเทศไทยและต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศจีน ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศญี่ปุ่น และประเทศอินเดีย ผลการศึกษาพบว่า ป่าชุมชนบ้านกลาง หมู่ที่ 6 ตำบลบางเตย อำเภอเมือง จังหวัดพังงา ได้ก่อตั้งขึ้นตามโครงการป่าชุมชนตามแนวทางกรมป่าไม้ เป็นเพียงการรวมกลุ่มของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งต่างจากการบริหารจัดการป่าชุมชนของประเทศจีน ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศญี่ปุ่น และประเทศอินเดีย โดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมลักษณะของการเป็นผู้ได้รับประโยชน์ ผ่านทางระบบกระจายอำนาจ ซึ่งกำหนดรูปแบบการทำงานร่วมกันด้านป่าไม้ เป็นพระราชบัญญัติหรือนโยบาย แตกต่างไปตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่ ลักษณะการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ของประชาชน และลักษณะทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ได้มุ่งหมายให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมปลูกต้นไม้และรักษาต้นไม้ โดยรัฐอาจกำหนดกฎระเบียบสาหรับการควบคุมการจัดการป่าชุมชน ดังนั้นป่าชุมชนบ้านกลาง หมู่ที่ 6 ตำบลบางเตย อำเภอเมือง จังหวัดพังงา จึงควรมีการยื่นคำขอจัดตั้งป่าชุมชนตามพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 พร้อมทั้งขอความยินยอมจากกรมทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่ง ซึ่งวิธีนี้ทำให้มีกฎหมายเฉพาะรองรับมีหลักเกณฑ์การปฏิบัติและบทลงโทษที่ชัดเจน มีการบริหารจัดการรูปแบบคณะกรรมการ ที่สำคัญคือคณะกรรมการจัดการป่าชุมชนมีหน้าที่ร่วมกับสมาชิกชุมชนจัดการป่าชุมชนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของป่าชุมชนและแผนการจัดการป่าชุมชนที่ได้รับอนุมัติ อันเป็นการขจัดปัญหาการเข้ามามีส่วนร่วมของสมาชิกป่าชุมชน สอดคล้องกับความต้องการพื้นฐานของประชาชน ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับวิถีความเป็นอยู่ของประชาชน ส่งผลให้ป่าชุมชุมชนสามารถดำเนินต่อไปได้th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectป่าชุมชน--ไทยth_TH
dc.subjectป่าชุมชน--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับth_TH
dc.subjectการถือครองที่ดิน--ไทยth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมth_TH
dc.titleปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับใช้พระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 ศึกษากรณีพื้นที่ชุมชนบ้างกลาง หมู่ที่ 6 ตำบลบางเตย อำเภอเมือง จังหวัดพังงาth_TH
dc.title.alternativeLegal problems related to the Community Forest Act B.E. 2562 enforcement: a case study of the Baan Klang Community, M. 6, T. Bang Toei, A. Muang, Phang Ngaen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of the research on the legal problems related to the Community Forest Act B.E. 2562 enforcement: a case study of the Baan Klang Community, M. 6, T. Bang Toei, A. Muang, Phangnga were: 1)to study the concepts and theories of community forest management and principles of law regarding thecommunity forest management in Thailand, 2) to examine the legal problems and the enforcement of community forest management in Thailand, 3) to compare the legal problems and the enforcement of community forest management in Thailand, China, Philippines, Japan, and India,4) to summarize and propose the solution to legal problems concerning with the enforcement of Community Forest Act B.E. 2562 so the community cooperated with the state to manage the natural resources in the community forest efficiently. This qualitative research applied the documentary research approach by studying and compiling books, textbooks, and documents related to Community Forest Act B.E. 2562, the academic journal concerned with the community forest in terms of legal problems and the enforcement of community forest management in Thailand and foreign countries including China, Philippines, Japan, and India. The research results showed that the community forest at M. 6, T. Bang Toei, A. Muang, Phangnga, established following the community forest project by Royal Forest Department, was the assembly of the local people, different from the community forest management in China, Philippines, Japan, and India. People took part as the beneficiary via a decentralization system. The acts or policies about forestry were legislated differently depending on the economy's geography, utilization, and state. It aimed to invite people to participate in planting and fostering trees. The state might set the regulations to control the community forest management. Therefore, Baan Klang community forest at M. 6, T. Bang Toei, A. Muang, Phangnga should be submitted for the establishment of a community forest according to the Community Forest Act B.E. 2562 as well as the approval by the Department of Marine and Coastal Resources. As a result, the specific law would be legislated, the practice, punishment, and the committee's management were set distinctly. Importantly, the Community Forest Committee must cooperate with the community members to manage the community forest to achieve its objectives and correspond with the basic need of people that was consistent with their way of life to maintain the community forest.en_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
166849.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.35 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons