Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11363
Title: | ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดทางอาญา ศึกษากรณีการลักลอบเข้าเมืองของผู้ลี้ภัย |
Other Titles: | Problems of criminal liability for smuggling of refugees |
Authors: | อิงครัต ดลเจิม ปัญวรัญย์ จันทร์สุริยา, 2530- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | ความรับผิดทางอาญา การเข้าเมืองผิดกฎหมาย การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี. |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความรับผิดทางอาญา กรณีการลักลอบเข้าเมืองของผู้ลี้ภัย (2) ศึกษาหลักเกณฑ์ทางกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดทางอาญากรณีการลักลอบเข้าเมืองของ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี อนุสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัย ได้แก่ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1951 พิธีสารเกี่ยวกับสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1967 อนุสัญญาต่อต้านการทรมาน การประติบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี ค.ศ. 1984 กฎบัตรมนุษยธรรมและมาตรฐานขั้นต่ำในการตอบสนองต่อภัยพิบัติ และประเทศไทย (3) วิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดทางอาญา กรณีการลักลอบเข้าเมืองของผู้ลี้ภัย (4) เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดทางอาญา กรณีการลักลอบเข้าเมืองของผู้ลี้ภัย การค้นคว้าอิสระฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากตำรา หนังสือ ตัวบทกฎหมายของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี อนุสัญญาระหว่างประเทศและประเทศไทย ตลอดจน บทความ วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ รายงานการวิจัย และเอกสารทางกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดทางอาญากรณีการลักลอบเข้าเมืองของผู้ลี้ภัย ผลการศึกษา พบว่า (1) แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับการลักลอบเข้าเมืองของผู้ลี้ภัยมีแนวคิดสำคัญคือ การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาซึ่งมีวัตถุประสงค์เป็นการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยไม่ให้รัฐใช้อำนาจเกินขอบเขตที่กฎหมายให้อำนาจ (2) หลักเกณฑ์ทางกฎหมายที่สำคัญปรากฏในอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1951 ซึ่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีได้เป็นภาคีในอนุสัญญาดังกล่าว และมีการตรากฎหมายว่าด้วยผู้ลี้ภัยขึ้นใช้บังคับโดยตรง ขณะที่ประเทศไทยมิได้เป็นภาคีของอนุสัญญานี้ แต่เป็นภาคีในอนุสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนอื่นรวม 7 ฉบับ ประกอบกับหลักการห้ามส่งกลับเป็นหลักกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ และมีผลบังคับใช้ในประเทศไทย (3) การคัดกรองเพื่อช่วยเหลือคนต่างด้าวให้ได้รับการคุ้มครองในลักษณะเดียวกับผู้ลี้ภัยนั้น ยังมีข้อบกพร่องบางประการ ได้แก่ 1) ไม่มีคำนิยามเกี่ยวกับผู้ลี้ภัย 2) ไม่มีการบัญญัติหลักเกณฑ์ความรับผิดทางอาญาที่เกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัย และ 3) ไม่มีหลักเกณฑ์การยกเลิกสถานะของผู้ลี้ภัยอันจะนำไปสู่การผลักดันออกนอกราชอาณาจักร (4) ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ คือ 1) ควรมีคำนิยาม ของคำว่า"ผู้ลี้ภัย" และคำว่า"ประหัตประหาร" และเพิ่มหลักเกณฑ์เกี่ยวกับคนต่างด้าวที่ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอลี้ภัยและผู้ที่ไม่ถือเป็นผู้ลี้ภัย 2) ควรกำหนดความรับผิดทางอาญา กรณีการลักลอบเข้าเมืองของผู้ลี้ภัยกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ได้รับผลประโยชน์ทางการเงินที่ยุยง ส่งเสริมเพื่อให้ความช่วยเหลือคนต่างด้าวในการยื่นคำร้องขอลี้ภัยโดยฉ้อฉล หรือกระทำในลักษณะเป็นองค์กรอาชญากรรม 3) ควรกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการยกเลิกสถานะผู้ลี้ภัย และการผลักดันผู้ที่ไม่ได้รับสถานะผู้ลี้ภัยออกนอกราชอาณาจักร |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11363 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
168405.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License