Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11402
Title: การสื่อสารเชิงสัญลักษณ์ในประเพณีการแข่งขันเรือยาวขึ้นโขนชิงธง
Other Titles: Symbolic communication in the Keun Khong Ching Tohng Longboat Races
Authors: สันทัด ทองรินทร์
ภควัต รัตนราช, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ปัณฉัตร หมอยาดี
สุชาติ สุขนา
Keywords: การแข่งเรือยาว--สัญลักษณ์
การสื่อสาร--สัญลักษณ์
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) บริบทของประเพณีการแข่งขันเรือยาวขึ้นโขนชิงธง 2) รูปแบบการสื่อสารประเพณีการแข่งขันเรือยาวขึ้นโขนชิงธง 3) ความหมายเชิงสัญญะและการประกอบสร้างความหมายของประเพณีการแข่งขันเรือยาวขึ้นโขนชิงธง ผลการวิจัย พบว่า 1) บริบทของประเพณีการแข่งขันเรือยาวขึ้นโขนชิงธงอิงตามวิถีชีวิตที่ผูกพันกับสายน้ำและประเพณีนิยมทางพระพุทธศาสนาของชุมชน ที่มีการนำเรือกฐินมาชุมนุมและแข่งขันในเทศกาลออกพรรษาจนกระทั่งพัฒนาการเป็นประเพณี มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นคือ ใช้เรือขุดเป็นรูปทรงปลาช่อน และตัดสินโดยการขึ้นโขนชิงธง 2) รูปแบบการสื่อสารประเพณีการแข่งขันเรือยาวขึ้นโขนชิงธงพบใน 2 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นตอนพิธีทำขวัญเรือ ประกอบด้วยการสื่อสารแบบวจนภาษา ได้แก่ บทสวดทำขวัญเรือ และอวจนภาษา ได้แก่ การสื่อสารผ่านสัญลักษณ์ของเครื่องเซ่นไหว้ (2) ขั้นตอนการแข่งเรือ ประกอบด้วยการสื่อสารแบบวจนภาษา ได้แก่ เสียงพากย์เรือ และอวจนภาษา ได้แก่ การสื่อสารผ่านสัญลักษณ์ในพิธีการลงเรือ การปล่อยเรือ การแข่งเรือ การ ขึ้นโขนชิงธง การเฉลิมฉลองและปลอบประโลม 3) ความหมายเชิงสัญญะพบใน 2 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นตอนพิธีทำขวัญเรือ โดยมีสัญญะเกี่ยวข้องกับความเชื่อ ความสัมพันธ์กับวิถีชีวิต การมีส่วนร่วมในประเพณี สถาบันครูอาจารย์ และวรรณกรรมชุมชน (2) ขั้นตอนการแข่งเรือ โดยมีสัญญะเกี่ยวข้องกับความเชื่อ วัฒนธรรมชุมชนและวิถีชีวิต การมีส่วนร่วม การกีฬา ภูมิศาสตร์ และความสัมพันธ์ของศิลปะจิตรกรรมกับชุมชน การประกอบสร้างความหมายพบว่ามี 3 ด้านคือ (1) ด้านค่านิยม 6 ประการ ได้แก่ ความศรัทธาในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ความเคารพครูบาอาจารย์และบรรพบุรุษ ความสามัคคี การมีส่วนร่วม การเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้นำ และการสืบทอดประเพณี (2) ด้านอุดมการณ์ 3 ประการ ได้แก่ อุดมการณ์เรื่องความศรัทธา เรื่องหน้าที่ และการสืบทอดประเพณี (3) ด้านความงาม 2 ประการ ได้แก่ ความงามในทัศนศิลป์ และความงามในโสตศิลป์
Description: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (นิเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11402
Appears in Collections:Comm-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
156500.pdfเอกสารฉบับเต็ม24.93 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons