Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11450
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปริชาติ ดิษฐกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorนารีรัตน์ สีสะสาร, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorยุพดี เจริญรัตนไพฑูรย์, 2527-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2024-02-12T03:06:45Z-
dc.date.available2024-02-12T03:06:45Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11450-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563th_TH
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กระบวนการผลิตผัก 2) ความรู้ ความเข้าใจ ในมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 3) ปัญหาและความต้องการในการจัดการการผลิตผัก และ4) แนวทางการจัดการการผลิตผัก งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ ประชากรแบ่งเป็น 2 กลุ่ม 1) เกษตรกรที่เป็นสมาชิกวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผักปลอดสารพิษบ้านโคกนกทา ที่ขึ้นทะเบียน ปี พ.ศ. 2563 จำนวน 38 ราย โดยศึกษาจากประชากรทั้งหมด และ 2) ประธานและสมาชิกตัวอย่างของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษบ้านโคกนกทา จำนวน 3 คน เจ้าหน้าที่รับซื้อผักของบริษัท จำนวน 1 คน และนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร จำนวน 1 คน รวมทั้งหมด 5 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง และการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์โดยการจัดหมวดหมู่และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่ซื้อเมล็ดพันธุ์จากร้านค้า เริ่มทำการผลิตผักเป็นระยะเวลามากกว่า 10 ปี โดยใช้แหล่งน้ำจากบ่อบาดาล/บ่อน้ำ มีการใช้น้ำหมักชีวภาพผสมปุ๋ยเคมี และใช้ปุ๋ยหมักผสมปุ๋ยเคมี ในการปรับปรุงบำรุงดิน ป้องกันกำจัดโรคและแมลงด้วยสารสกัดจากธรรมชาติและมีการปลูกพืชผักหมุนเวียนตลอดทั้งปี 2) เกษตรกรมีระดับความรู้ ความเข้าใจในมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ปัญหาในการจัดการการผลิตผัก คือ โรคและแมลงรบกวนทำให้ผลผลิตเสียหาย และปัญหาการวางแผนการผลิตไม่ตรงกับช่วงที่เจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตรลงมาตรวจประเมินแปลงเพื่อรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี เกษตรกรมีความต้องการที่จะลดต้นทุนการผลิต และร้อยละ 100 ต้องการใบรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี และ 4) แนวทางการจัดการการผลิตผักตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี คือ เกษตรกรควรมีการจัดทำแผนการผลิตที่ชัดเจน และติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่องเพื่อเจ้าหน้าที่จะได้ลงพื้นที่ตรวจประเมินแปลงได้ตรงรอบการผลิต ตลอดจนเกษตรกรควรเข้ารับการอบรมตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีเกี่ยวกับการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isootherth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectผักปลอดสารพิษth_TH
dc.subjectผัก -- การปลูกth_TH
dc.subjectผักปลอดสารพิษth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ วิทยานิพนธ์th_TH
dc.titleการจัดการการผลิตผักตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษบ้านโคกนกทา อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิth_TH
dc.title.alternativeVegetable production management according to Good Agricultural Practices of Ban Khok Nok Tha community enterprise at Khon San district, Chaiyaphum Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
169226.pdfเอกสารฉบับเต็ม12 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons