Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11451
Title: การสื่อสารเพื่อสร้างแรงบันดาลใจตนเองของคนพิการ
Other Titles: Communication for self inspiration building among the disabled
Authors: วิทยาธร ท่อแก้ว, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุภาภรณ์ ศรีดี, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิภากร กำจรเมนุกูล, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศิริวรรณ เจียรชัชวาลวงศ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: การสื่อสาร--แง่จิตวิทยา
คนพิการ--วิธีสื่อสาร
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารเพื่อสร้างแรงบันดาลใจตนเองของคนพิการเกี่ยวกับ 1) รูปแบบการสื่อสาร 2) เนื้อหาการสื่อสาร 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการสื่อสาร 4) ปัญหาและแนวทางแก้ไขการสื่อสาร 5) แนวทางการพัฒนาการสื่อสารการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตการณ์ ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ คนพิการต้นแบบทางการเคลื่อนไหว จำนวน 25 คน และนักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูคนพิการ จำนวน 6 คน เลือกแบบเจาะจงและเทคนิคสโนว์บอล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า การสื่อสารเพื่อสร้างแรงบันดาลใจตนเองของคนพิการมีรูปแบบและเนื้อหาแบ่งเป็น 4 ขั้นได้แก่ 1) รูปแบบการสื่อสารเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ ขั้นแรกการเผชิญปัญหา คือ การสื่อสารภายในตนเองโดยคิดอย่างมีเหตุผลการคิดทบทวนไตร่ตรองเพื่อเอาตัวรอด ยึดหลักคำสอนทางศาสนาเป็นที่พึ้งทางใจและวางแผนการดำเนินชีวิตในอนาคต ขั้นที่สองการยอมรับความพิการ คือ การสื่อสารผ่านการกอดสัมผัสเพื่อปลอบใจ ให้กำลังใจ ยึดหลัก การคิดบวกให้เห็นคุณค่าในตนเอง ขั้นที่สามการปรับตัว คือ การฟังอย่างมีวิจารณญาณในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ยึดหลักคติชีวิตจากบุคคลต้นแบบที่ประสบความสำเร็จเพื่อการสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจ ขั้นที่สี่ การใช้ชีวิตตามปกติ คือ การสื่อสารภายในตนเองด้วยการคิดอย่างสร้างสรรค์เพื่อความอยู่รอดและสร้างแรงจูงใจด้วยแรงสนับสนุนทางสังคม 2) เนื้อหาการสื่อสารเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ ขั้นแรกการเผชิญปัญหา คือ การข้ามผ่านอุปสรรค อย่างไม่ท้อแท้สิ้นหวัง และไม่กลัวการเปลี่ยนแปลง ขั้นที่สอง การยอมรับความพิการ คือ การมองโลกในแง่ดีการทำชีวิตให้มีสีสัน และการมองสถานการณ์ตามความเป็นจริง ขั้นที่สาม การปรับตัว คือ การข้ามผ่านอุปสรรคด้วยการให้กำลังใจตนเอง การเอาชนะความคับข้องใจ และการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมรอบตัว ขั้นที่สี่ การใช้ชีวิตตามปกติ คือ การคิดสร้างสรรค์มีความยืดหยุ่น และไม่วิตกกังวลในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการสื่อสารสร้างแรงบันดาลใจด้านบุคลิกภาพ คือ การมีอุปนิสัยแบบเปิด กล้าแสดงออก เปิดเผย และปัจจัยด้านกลุ่มอ้างอิง คือ การมีครอบครัวที่มีความใกล้ชิดและเข้าใจซึ่งกันและกัน 4) ปัญหาการสื่อสารเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ คือ บุคคลที่เกี่ยวข้องขาดทักษะการเรียบเรียงข้อมูล ขาดรูปแบบการนำเสนอที่ดี เนื้อหาสารไม่น่าสนใจและเข้าใจยาก ช่องทางการสื่อสารไม่เหมาะสม ขาดเครื่องมือในการสื่อสาร คนพิการขาดความกล้าในการเข้าสังคมและมีฐานะไม่ดีการแก้ไขปัญหาการสื่อสารสร้างแรงบันดาลใจ คือ ผู้ส่งสารมีการสื่อสารอย่างเป็นกันเอง นำเสนอเนื้อหาสารให้น่าสนใจ ใช้ภาษาเดียวกันกับคนพิการที่เข้าใจง่าย และมีความชัดเจน ด้านช่องทางการสื่อสารต้องมีการเลือกใช้สื่อให้เหมาะสม ได้แก่ สื่อบุคคล สื่อสังคมออนไลน์ และสื่อมวลชน การแก้ปัญหาด้านอื่น ๆ คือ คนพิการต้องพัฒนาศักยภาพเพื่อหารายได้ในการพึ่งพาตนเอง 5) แนวทางการพัฒนาการสื่อสารเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ คือ คนพิการต้องสื่อสารภายในตนเองด้วยการคิดอย่างมีสติและสร้างสรรค์ ใช้เหตุผลในการแก้ปัญหาและอุปสรรคด้วยการนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการอ่าน การเห็น การฟัง และการสัมผัส มาใช้ในการสื่อสารด้วยการพูด การเขียน และการแสดงความรู้สึก การสื่อสารด้วยการคิดอย่างสร้างสรรค์สามารถสร้างความรู้ใหม่ ประสบการณ์ใหม่ และทางเลือกใหม่ ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการสื่อสาร คือ ความสัมพันธ์ใกล้ชิดของสมาชิกในครอบครัว เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสาร และการจัดสภาพแวดล้อมที่อำนวยความสะดวกแก่คนพิการ
Description: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.(นิเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11451
Appears in Collections:Comm-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
159472.pdfเอกสารฉบับเต็ม31.84 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons