กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11460
ชื่อเรื่อง: คู่มือการดูแลสตรีตั้งครรภ์ติดเชื้อโควิด-19 สำหรับพยาบาล โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Manual on caring for COVID-19-infected pregnant women for nurses at Chawang Crown Prince Hospital, Nakhon Si Thammarat Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นิตยา เพ็ญศิรินภา, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธนัชพร สงรอง, 2532-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช--สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี
โควิด-19 (โรค)
สตรีมีครรภ์--การดูแล
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: สตรีตั้งครรภ์ที่มีการติดเชื้อโควิด-19 จะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ และอาจเสียชีวิตหลังคลอดได้ พยาบาลมีบทบาทสำคัญในการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงจากการติดเชื้อโควิด-19 โดยช่วยให้สตรีตั้งครรภ์มีการดูแลตนเองที่เหมาะสมในระยะตั้งครรภ์ ส่งผลต่อการดำเนินการตั้งครรภ์และการคลอดที่มีคุณภาพต่อไป การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดทำคู่มือการดูแลสตรีตั้งครรภ์ติดเชื้อโควิด-19 สำหรับพยาบาล โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ขั้นตอนการจัดทำคู่มือฯ ได้แก่ (1) ทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับโรคโควิด-19 และการติดเชื้อโควิด-19 ในหญิงตั้งครรภ์ (2) รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง (3) กำหนดเนื้อหาและจัดทำร่างคู่มือการดูแลสตรีตั้งครรภ์ติดเชื้อโควิด-19 สำหรับพยาบาล (4) ประเมินคุณภาพคู่มือและแบบสอบถามความพึงพอใจ โดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.84 (5) นำคู่มือไปทดลองใช้กับพยาบาลโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฉวางที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการดูแลสตรีตั้งครรภ์ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 20 คน และ (6) สรุปผลการศึกษา ผลการดำเนินงาน ได้คู่มือการดูแลสตรีตั้งครรภ์ติดเชื้อโควิด-19 สำหรับพยาบาล โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช เนื้อหาประกอบด้วย 4 บท ได้แก่ (1) บทนำ (2) ความรู้เกี่ยวกับการติดเชื้อโควิด-19 (3) การดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงและติดเชื้อโควิด-19 และ (4) แนวทางการดูแลสตรีตั้งครรภ์ติดเชื้อโควิด-19 ของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฉวาง สำหรับผลการทดลองใช้ พบว่า มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจด้านเนื้อหาอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด โดยข้อที่มีค่าความพึงพอใจสูงสุด 3 อันดับแรก คือเนื้อหาที่นำเสนอมีความครอบคลุม ความน่าเชื่อถือของเนื้อหา และเนื้อหามีความชัดเจน ส่วนความพึงพอใจด้านรูปแบบการนำเสนออยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด โดยข้อที่มีค่าความพึงพอใจสูงสุด 3 อันดับแรก คือ ขนาดตัวอักษรเหมาะสม ภาษาที่ใช้เข้าใจง่าย และการนำเสนอมีความน่าสนใจ สำหรับภาพรวมความพึงพอใจต่อคู่มือฯ อยู่ในระดับมากที่สุด.
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11460
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
168968.pdfเอกสารฉบับเต็ม24.92 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons