Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11536
Title: การจัดการศัตรูส้มโอขาวแตงกวาของเกษตรกรจังหวัดชัยนาทเพื่อพัฒนาเว็บไซต์
Other Titles: Pest management of pomelo cv. Khao Taeng Gua (Citrus maxima (Burm.) Merrill) by farmers in Chai Nat Province for development of website
Authors: ธำรงเจต พัฒมุข, อาจารย์ที่ปรึกษา
กฤษณา รุ่งโรจน์วณิชย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
อรรถศิษฐ์ พัฒนะศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา
เอกพนธ์ พิพัฒน์รังสรรค์, 2533-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ส้มโอ--โรคและศัตรูพืช
การพัฒนาเว็บไซต์
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) สภาพเศรษฐกิจ สังคมของเกษตรกร 2) ความรู้เกี่ยวกับการจัดการศัตรูส้มโอขาวแตงกวา 3) ชนิดศัตรูส้มโอขาวแตงกวาที่สำคัญ 4) วิธีการจัดการศัตรูส้มโอขาวแตงกวาของเกษตรกร 5) ความต้องการรูปแบบเว็บไซต์การจัดการศัตรูส้มโอขาวแตงกวาของเกษตรกร และ 6) พัฒนาเว็บไซต์เกี่ยวกับการจัดการศัตรูส้มโอขาวแตงกวา ประชากรในการศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกส้มโอขาวแตงกวา ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับสำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาททั้งหมด ในฤดูกาลผลิต ปี 2561/2562 จำนวน 315 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 53.32 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 52.05 และมีประสบการณ์ปลูกส้มโอขาวแตงกวา 12.93 ปี 2) มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการโรค ร้อยละ 65.17 การจัดการแมลง ร้อยละ 74.70 การจัดการไร ร้อยละ 69.02 ซึ่งเกษตรกรมีความรู้อยู่ในระดับมาก และการจัดการวัชพืช ร้อยละ 59.71 เกษตรกรมีความรู้อยู่ในระดับปานกลาง 3) ศัตรูพืชที่เกษตรกรให้ความสำคัญระดับมากที่สุด คือ โรคแคงเกอร์ โรคกรีนนิ่ง หนอนชอนใบส้ม ไรแดงแอฟริกัน หญ้าตีนนก 4) วิธีการจัดการศัตรูส้มโอขาวแตงกวาที่เกษตรกรให้ความสำคัญระดับมากที่สุด คือ ใช้พันธุ์ต้านทานโรค หรือ พันธุ์ปลอดโรค ตรวจแปลงและรักษาความสะอาดในแปลงปลูก ทำลายส่วนของต้นส้มโอที่ถูกแมลงเข้าทำลาย ตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง และมีการกำจัดวัชพืชบริเวณรอบต้นส้มโอ 5) รูปแบบเว็บไซต์ที่ต้องการคือ (1) รูปแบบและวิธีการนำเสนอระดับมากที่สุดได้แก่ ต้องมีตัวอักษรที่ความชัดเจนและอ่านได้ง่าย ภาพประกอบมีความสวยงามคมชัด (2) ข้อมูลที่ต้องการให้มีในเว็บไซต์ในระดับมากที่สุดได้แก่ การขอรับรองมาตรฐานการปฏิบัติการเกษตรที่ดี ชนิดศัตรูพืชและรูปภาพศัตรูพืช และการจัดการศัตรูพืชรายชนิด อ้างอิงจากกรมวิชาการเกษตร 6) ผู้วิจัยได้สร้างเว็บไซต์ เพื่อเป็นองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการสุขภาพพืช โดยใช้แพลตฟอร์ม Wordpress และ ชื่อ URL: https://planthealth.stou.ac.th เพื่อใช้เผยแพร่ความรู้ให้เป็นประโยชน์กับเกษตรกรในการจัดการศัตรูส้มโอขาวแตงกวา
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11536
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.46 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons