Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11545
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวศินา จันทรศิริth_TH
dc.contributor.authorปัทมา ชูถนอม, 2533-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2024-02-20T06:10:08Z-
dc.date.available2024-02-20T06:10:08Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11545en_US
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการระบบอาหารเพื่อโภชนาการ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562th_TH
dc.description.abstractการวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคลของบุคลากรโรงพยาบาลสิริโรจน์ จังหวัดภูเก็ต (2) พฤติกรรมการออกกำลังกาย (3) พฤติกรรมการบริโภคอาหาร (4) ค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพของบุคลากรที่มีโรคประจำตัวเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และ (5) ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพของบุคลากรโรงพยาบาลสิริโรจน์ จังหวัดภูเก็ต ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรวัยผู้ใหญ่ตอนกลางที่ทำงานในโรงพยาบาลสิริโรจน์ จังหวัดภูเก็ต มีอายุระหว่าง 40–60 ปี จำนวน 125 คน สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 96 คน จำแนกตามกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 3 กลุ่ม ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือดสูง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงเส้นพหุ ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 40 - 49 ปี มีรายได้ 20,001–30,000 บาทต่อเดือน มีระดับการศึกษาน้อยกว่าปริญญาตรี ตำแหน่งงานผู้ช่วยพยาบาลและเจ้าหน้าที่ มีดัชนีมวลกายระหว่าง 25.0-29.9 กก./ม2 ซึ่งจัดอยู่ในระดับอ้วนและมีน้ำหนักเกิน (2) พฤติกรรมการออกกำลังกายของบุคลากรอยู่ในระดับปฏิบัติปานกลาง (3) พฤติกรรมการบริโภคอาหารของบุคลากรอยู่ในระดับปฏิบัติปานกลาง (4) ค่าใช้จ่ายด้านยารักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีความสัมพันธ์ผกผันกับค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพของบุคลากรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (5) ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพของบุคลากรกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เพศ อายุ รายได้ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน และดัชนีมวลกาย โดยมีความสัมพันธ์ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการจัดการระบบอาหารเพื่อโภชนาการ--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectพฤติกรรมสุขภาพth_TH
dc.subjectการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง--ค่าใช้จ่ายth_TH
dc.titleพฤติกรรมสุขภาพและค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพของบุคลากรที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลสิริโรจน์ จังหวัดภูเก็ตth_TH
dc.title.alternativeHealth behaviors and healthcare expenditures of personnel suffered from mon-communicable diseases in Siriroj Hospital, Phuket Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการระบบอาหารเพื่อโภชนาการ)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this survey research were to study (1) personal factors of personnel in Siriroj hospital, Phuket province; (2) exercise behaviors; (3) consumption behaviors; (4) healthcare expenditures of personnel suffered from non-communicable diseases and (5) factors affecting healthcare expenditures of personnel in Siriroj hospital, Phuket province. Population for this research were 125 middle age personnel working in Siriroj hospital, Phuket province, aged 40-60. Ninety six personnel were purposively selected from 3 groups of non-communicable diseases, including diabetes, hypertension and hyperlipidemia. Research instruments were questionnaires. Data were analyzed using descriptive statistics, t-test, F-test and multiple regression. The research results showed that (1) most of the samples were female, aged 40-49, had monthly income 20,001-30,000 baht, earned less than bachelor’s degree, were practical nurses and office workers, had body mass index between 25.0-29.9 kg/m2 which were considered obese and overweight; (2) exercise behaviors were practiced at the moderate level; (3) consumption behaviors were practiced at the moderate level; (4) medical expenditures on non-communicable diseases were inversely related to healthcare expenditures at the 0.05 level of statistical significance and (5) factors affecting healthcare expenditures of the personnel were gender, age, income, educational level, position and body mass index, which were differently related at the 0.05 level of statistical significanceen_US
dc.contributor.coadvisorอนุชา ภูริพันธุ์ภิญโญth_TH
Appears in Collections:Hum-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.01 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons