Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11573
Title: | การประเมินระบบจัดการยาความเสี่ยงสูงในโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยใช้เครื่องมือประเมินหาส่วนขาดและวางแผนเพื่อความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วย |
Other Titles: | Evaluation of high-alert drug management system in community hospitals in Surat Thani Province using gap analysis model to ensure patient safety |
Authors: | พาณี สีตกะลิน รัชนก ทองเสนอ, 2516- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา วรางคณา ผลประเสริฐ |
Keywords: | โรงพยาบาล--ระบบการจ่ายยา เภสัชกรรมของโรงพยาบาล |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยองค์กรของโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ 2) เปรียบเทียบระบบจัดการยาความเสี่ยงสูงตามมาตรฐานสถาบันพัฒนาของโรงพยาบาลชุมชนที่ผ่านการรับรองคุณภาพและรอการรับรองคุณภาพของโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ผลการวิจัยพบ 1) ประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 93.2 อายุเฉลี่ย 34.12 ปี (X =34.1 สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี ร้อยละ 94.4 มีวิชาชีพดังนี้ พยาบาลวิชาชีพ ร้อยละ 84.7เภสัชกร ร้อยละ 10.6 และแพทย์ ร้อยละ 4.7 ส่วนใหญ่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30เตียง ร้อยละ 43.63 และเป็นโรงพยาบาลที่ผ่านการรับรองคุณภาพสถาน พยาบาลอยู่ในระดับบันได ขั้นที่ 2 มีโรงพยาบาลชุมชนที่มีมาตรฐานระบบการจัดหาความเสี่ยงสูง ที่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 20มาตรฐานร้อยละ 24.69 และที่ไม่ผ่านเกณฑ์ อีก 61 มาตรฐาน ร้อยละ 75.31 และ 2) เมื่อเปรียบเทียบระบบการจัดยาตามมาตรฐานพบว่า โรงพยาบาลชุมชนที่มีขนาดใหญ่กว่ามีจำนวนมาตรฐานที่ผ่านเกณฑ์มากกว่าโรงพยาบาลชุมชนที่มีขนาดเล็กกว่าและพบว่าโรงพยาบาลที่ผ่านการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลในระดับขั้น 3 มีจำนวนมาตรฐานที่ผ่านเกณฑ์มากที่สุด |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม. (สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11573 |
Appears in Collections: | Health-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
127850.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 20.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License