Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11601
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมศักดิ์ มีทรัพย์หลากth_TH
dc.contributor.authorสนิทพงษ์ ไชยขันแก้ว, 2516-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2024-02-23T08:32:08Z-
dc.date.available2024-02-23T08:32:08Z-
dc.date.issued2546-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11601-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546th_TH
dc.description.abstractน้ำสะอาดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์เพื่อใช้ในการบริโภค สำหรับหน่วยทหารซึ่งมีความขาดแคลนน้ำสะอาดเพื่อใช้ในการบริโภค จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาเลือกวิธีจัดหาน้ำสะอาดที่เหมาะสมที่สุดเพื่อแก้ปัญหาความขาดแคลนน้ำเพื่อใช้ในการบริโภค วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อ (1) ศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตน้ำสะอาดเพื่อการบริโภคภายในหน่วยทหาร จังหวัดราชบุรี (2) วิเคราะห์ผลตอบแทนและต้นทุนในการผลิตน้ำสะอาดเพื่อการบริโภคภายในหน่วยราชบุรี จังหวัดทหาร (3) วิเคราะห์การกำหนดราคาค่าน้ำสะอาดเพื่อการบริโภคที่เหมาะสม การวิจัยครั้งนี้ จะทำการศึกษาเฉพาะภายในหน่วยทหาร จังหวัดราชบุรี โดยสำรวจทั้งสิ้น 400 ตัวอย่างประกอบด้วย นายทหารชั้นสัญญาบัตร, นายทหารชั้นประทวน, ทหารกองประจำการ และ ลูกจ้าง ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ภายใน ค่ายภาณุรังษีส่วนที่ 1, ค่ายภาณุรังษีส่วนที่ 2, แผนกที่ 6 กองคลังแสง กรมสรรพาวุธทหารบก และ ค่ายศรีสุริยวงศ์ สำหรับการวิจัยครั้งนี้จะใช้วิธีการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน อันประกอบด้วย ระยะเวลาคืนทุน, อัตรา ผลตอบแทนเฉลี่ย, มูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนสุทธิ, อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน, อัตราผลตอบแทนภายในของโครงการ, การวิเคราะห์ความไวของโครงการ และ การทดสอบคำความแปรเปลี่ยน สำหรับการกำหนดราคาค่าน้ำสะอาดจะใช้วิธี การตั้งราคาโดยบวกจากต้นทุนรวม ผลการวิจัยพบว่า เมื่อทำการผลิตน้ำสะอาดเพื่อการบริโภคจำนวน 4 ขนาด ได้แก่ บรรจุถังพลาสติกใสขนาด 20 ลิตร, บรรจุขวดพลาสติกใสขนาด 500 ลบ.ซม., บรรจุขวดพลาสติกขุ่นขนาด 950 ลบ.ซม. และ บรรจุขวดพลาสติกใสขนาด 1,500 ลบ.ซม. โดยมีการผลิตรวม 28,707 ลิตรต่อวัน และจำหน่ายในราคา 8, 5, 4 และ 12 บาทตามลำดับ ได้ผลการวิเคราะห์ดังนี้คือ โครงการนี้มีระยะเวลาคืนทุนภายในระยะเวลา 2 ปี, อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยเท่ากับ 24.23 %, มูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนสุทธิเท่ากับ 13,455,746.23 บาท, อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนเท่ากับ 1.13 และ อัตราผลตอบแทนภายในของโครงการเท่ากับร้อยละ 45.18 สำหรับผลการวิเคราะห์ความไวของโครงการพบว่ามีความคุ้มค่าทั้ง 3 กรณี ได้แก่ กรณีที่รายได้ลดลง, กรณีรายจ่ายเพิ่มขึ้น และ กรณีที่รายได้ลดลงรวมกับรายจ่ายเพิ่มขึ้น จากการทดสอบค่ความแปรเปลี่ยนพบว่า ต้นทุนสามารถเพิ่มขึ้นได้ร้อยละ 13.23 ผลประโยชน์สามารถลดลงได้ร้อยละ 11.69 ดังนั้น โครงการจึงมีความเป็นไปได้ทั้งทางด้านเทคนิค และมีผู้บริโภคน้ำสะอาดมากพอที่จะทำให้มีความเป็นไปได้ทางด้านการตลาด สำหรับต้นทุนในการผลิตน้ำสะอาดเพื่อการบริโภคนั้นพบว่า ต้นทุนสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน ได้แก่ ค่าน้ำสะอาดเท่ากับ 0.872 บาทต่อลิตร และ ค่าบรรจุภัณฑ์ของน้ำสะอาดบรรจุถังพลาสติกใสขนาด 20 ลิตร,บรรจุขวดพลาสติกใสขนาด 500 ลบ.ซม., บรรจุขวดพลาสติกขุ่นขนาด 950 ลบ.ซม. และ บรรจุขวดพลาสติกใสขนาด 1,500 ลบ.ซม. เท่ากับ 0.142, 2.453, 1.836 และ 5.232 บาทต่อบรรจุภัณฑ์ ตามลำดับ สำหรับผลตอบแทนของโครงการพบว่า ผลตอบแทนสามารถแบ่งออกได้เป็น ผลตอบแทนทางตรงและผลตอบแทนทางอ้อม โดยผลตอบแทนทางตรงคือ การที่ผู้ผลิตมีรายได้จากการจำหน่ายน้ำสะอาด และ ผู้บริโภคมีน้ำสะอาดบริโภคอย่างเพียงพอในราคาที่ถูกลง สำหรับผลตอบแทนทางอ้อมคือ การที่ผู้ผลิตได้รับความรู้เพิ่มขึ้นทั้งทางด้านเทคนิคและด้านการตลาด และ ผู้บริโภคมีสุขภาพอนามัยที่ดี รวมทั้งสามารถนำน้ำสะอาดไปดำเนินการเพิ่มรายได้ให้แก่ครัวเรือน นอกจากนี้ราคาที่จำหน่ายยังมีความเหมาะสมเนื่องจากเป็นราคาจำหน่ายที่ทำให้โครงการมีความเป็นไปได้ทางด้านการเงิน อีกทั้งราคาจำหน่ายโดยเฉลี่ยยังต่ำกว่าราคาจำหน่ายโดยเฉลี่ยในท้องตลาดth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectน้ำดื่ม--การผลิตth_TH
dc.subjectน้ำเพื่อการบริโภคth_TH
dc.titleการศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตน้ำสะอาดเพื่อบริโภค : กรณีศึกษาภายในหน่วยทหาร จังหวัดราชบุรีth_TH
dc.title.alternativeFeasibility study of producing water for consumption : a case study in Ratchaburi military campsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeClean water is necessary for human consumption. As there is generally insufficient water for consumption in military camps, it is necessary to consider the best method to solve this problem. The purposes of this research are (1) to perform a feasibility study of producing clean water for consumption in Ratchaburi military camps. (2) to conduct the Benefit- Cost Analysis for producing clean water for consumption in Ratchaburi military camps. (3) to analyse and determine the price for clean consumption water. This research focused on Ratchaburi military camps covering a total of 400 samples consisting of commissioned officers, non-commissioned officers, privates and employees who have duties in 1st Panurangsi camp, 2sd Panurangsi camp, 6th Ordance depot Srisuriyawong camp. Benefit – cost analysis was used covering payback period method, average rate of return, net present value, benefit cost ratio, internal rate of return, project sensitivity analysis and switch value test. The sales prices were set by using the mark-up cost approach. The production capacity of the plant studied was 28,707 litres per day. The Analysis was conducted for 4 sizes containers, i.e., in 20 litres limpid plastic buckets, in 500 cc. limpid plastic bottles, in 950 cc non-limpid plastic bottles and in 1,500 cc limpid plastic bottles. Prices were set at 8 Baht, 5 Baht, 4 Baht and 12 Baht respectively, the payback period was found to be within 2 years, the average rate of return was 24.23 percent, the net present value (NPV) was 13,455,746.23 baht, the benefit cost ratio was 1.13 and the internal rate of return is 45.18 percent. The results of the sensitivity analysis showed that the investment was feasible in all three scenarios, these being reduction of expected revenue stream, increase in cost stream and reduction of expected revenue stream as well as increase in cost stream. In addition, the switch value test found that the benefit can be reduced by 13.23 percent and the cost can be increased by 11.69 percent. The project was found to be feasible both on technical grounds and marketing potential. For cost analysis of producing clean water for consumption, cost can be divided into 2 parts. The cost of water is 0.872 Baht per litter while the costs per container for the 20 litres limpid plastic buckets, in 500 cc. limpid plastic bottles, in 950 cc non-limpid plastic bottles and in 1,500 cc limpid plastic bottles were 0.142 Baht, 2.453 Baht, 1.836 Baht and 5.232 Baht respectively. The benefit can be divided into 2 parts, direct and indirect benefits. The direct benefits were in terms of revenue for the producers and supply of clean water for consumers at low prices. The indirect benefit was that producers earned more knowledge both on technical and marketing aspects as well as improved health of consumers. Furthermore, the price set for sale is suitable because it makes this project feasible in financial terms and the average of the price for sale is lower than the average market prices.en_US
dc.contributor.coadvisorรัฐวิชญ์ จิวสวัสดิ์th_TH
Appears in Collections:Econ-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
79843.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.54 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons