Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11623
Title: แนวทางการส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานของเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันในอำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Other Titles: An extension guideline of integrated pest management for oil palm farmers in Khiri Rat Nikhom District , Surat Thani Province
Authors: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิสิตา เพชรา, 2534-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: ศัตรูพืช--การป้องกันและควบคุม
ศัตรูพืช--การควบคุม--ไทย
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ความรู้และแหล่งความรู้ในการใช้สารเคมีการเกษตรที่ถูกวิธีและการป้องกันกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร 2) ความคิดเห็นในการบริหารจัดการศัตรูพืชของเกษตรกร 3) การยอมรับการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกวิธีและการบริหารจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานของเกษตรกร 4) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการยอมรับการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกวิธีและการบริหารจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานของเกษตรกร 5) ปัญหา ข้อเสนอแนะ และแนวทางการส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานของเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนมากเป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 54.38 ปี ประสบการณ์การใช้สารเคมีการเกษตรเฉลี่ย 8.75 ปี รายได้จากภาคการเกษตรเฉลี่ย 12,927.89 บาท/เดือน มีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 15.90 ไร่ 1) ความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีการเกษตร อยู่ในระดับมากที่สุด แหล่งความรู้ที่เกษตรกรได้รับอยู่ในระดับปานกลาง 2) เกษตรกรเห็นด้วยต่อการบริหารกำจัดศัตรูพืชในระดับปานกลาง โดยเฉพาะจะทำให้เกิดความปลอดภัยต่อตัวเกษตรกรและผู้บริโภค 3) การยอมรับในเชิงความคิดเห็นทั้งประเด็นการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนการยอมรับในเชิงปฏิบัติประเด็นในการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช เกษตรกรมีการยอมรับระดับมากที่สุด ส่วนการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานจะมีการยอมรับน้อยที่สุด 4) การวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า ประสบการณ์การใช้สารเคมี แรงงานภายในครัวเรือน การได้รับการอบรม และ ระดับความคิดเห็นการบริหารจัดการศัตรูพืช มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติกับการยอมรับการใช้สารเคมีฯในเชิงความคิดเห็น ส่วนในเชิงปฏิบัติ พบว่าการได้รับการอบรมจะมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติกับการยอมรับการใช้สารเคมีฯ 5) ปัญหาในการใช้สารเคมีฯ ที่อยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการศัตรูพืชโดยวิธีเขตกรรม สำหรับข้อเสนอแนะอยู่ในระดับมาก โดยมีข้อเสนอแนะคือ ควรมีการเพิ่มช่องทางของสื่อให้หลากหลายเพื่อเป็นการเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วน และการให้ความรู้ในรูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสมกับเกษตรกร
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11623
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.05 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons