Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11643
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุชาดา ตั้งทางธรรม | th_TH |
dc.contributor.author | จักรพันธ์ ชัยทัศน์, 2519- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2024-02-29T03:56:58Z | - |
dc.date.available | 2024-02-29T03:56:58Z | - |
dc.date.issued | 2549 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11643 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์งบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลจำแนกตามลักษณะงานที่มีผลต่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับภาค โดยใช้การศึกษาเชิงพรรณนาและเชิงปริมาณ ซึ่งการศึกษาเชิงปริมาณใช้แบบจำลองฟังก์ชัน Log - Lin Model ในการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) และประมาณค่าพารามิเตอร์โดยวิธีถดถอยแบบกำลังสองน้อยที่สุด (Ordinary Least Square: OLS) กำหนดตัวแปรตามคือผลิตภัณฑ์ภาคของประเทศ ตัวแปรอิสระคืองบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลจำแนกตามลักษณะงาน ผลการศึกษาเชิงพรรณนาพบว่าตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 จนถึง 3 ปี แรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 รัฐบาลได้จัดทำงบประมาณรายจ่ายโดยรวมเฉลี่ยร้อยละ 22.61 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) เมื่อพิจารณาถึงสัดส่วนของงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลจำแนกตามลักษณะงาน พบว่าที่ผ่านมารัฐบาลจัดสรรงบประมาณให้แก่ด้านเศรษฐกิจมากที่สุดรองลงมาคือด้านการศึกษา ด้านสาธารณสุขและสาธารณูปการ และด้านการชำระหนี้เงินกู้ โดยมีสัดส่วนเฉลี่ยร้อยละ 5.07, 4.80, 3.50 และ 2.85 ต่อ GDP ตามลำดับ ในส่วนของการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของผลิตภัณฑ์ภาคต่อ GDP เมื่อสิ้นแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 5 เปรียบเทียบกับช่วง 3 ปีแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคใต้ มีมูลค่าผลิตภัณฑ์ภาคลดลงร้อยละ 1.59, 1.45, 3.83, 3.38 และ 0.77 ตามลำดับ ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออกมีมูลค่าผลิตภัณฑ์ภาคเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.34 และ 6.68 ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณพบว่างบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลด้านเศรษฐกิจ ด้านการศึกษา และด้านการชำระหนี้เงินกู้ มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในทุกภาคของประเทศที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | งบประมาณ | th_TH |
dc.subject | รัฐบาล--ไทย | th_TH |
dc.title | การวิเคราะห์งบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลที่มีต่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับภาคของประเทศไทย | th_TH |
dc.title.alternative | An analysis of the government budgetary expenditure on the regional economic growth in Thailand | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.contributor.coadvisor | ปรัชญ์ ปราบปรปักษ์ | th_TH |
Appears in Collections: | Econ-Theses |
This item is licensed under a Creative Commons License