Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11647
Title: | การวิเคราะห์โครงสร้างตลาด พฤติกรรมการแข่งขันและผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ในประเทศไทย |
Other Titles: | An analysis of market structure conduct and performance of seed industry in Thailand |
Authors: | สมศักดิ์ มีทรัพย์หลาก มัทนา ฉัตรอนันต์, 2511- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ฐกัด ศรีคำพร |
Keywords: | อุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์--ไทย การแข่งขันทางการค้า โครงสร้างตลาด |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1)โครงสร้างตลาดของอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ในประเทศไทย (2) พฤติกรรมการแข่งขันของอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ในประเทศไทย และ (3) ผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ในประเทศไทย ช่วงพ.ศ. 2545-2547 โดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิที่ได้จากการสัมภาษณ์และการใช้แบบสอบถาม และข้อมูลทุติยภูมิที่เก็บรวบรวมในช่วงเดือนมีนาคม 2548-พฤษภาคม 2550 จากหน่วยงานของรัฐบาลและเอกชนมาวิเคราะห์ ดังนี้ (1) การวิเคราะห์เชิงปริมาณ โดยการหาค่าดัชนีการกระจุกตัว 3 วิธี คือ อัตราส่วนการกระจุกตัว (Concentration ratio; CR.) ดัชนี HHI (Herfindahl-Hirschmen Index) และดัชนี CCI (Comprehensive Concentration Index ) เพื่อศึกษาโครงสร้างตลาด (2) การวิเคราะห์เชิงพรรณนาเป็นการศึกษาพฤติกรรมการแข่งขัน และ (3) การวิเคราะห์เชิงปริมาณโดยคำนวณความสามารถในการทำกำไร และประสิทธิภาพในการดำเนินงานของบริษัทเมล็ดพันธุ์ เพื่อศึกษาผลการดำเนินงาน ผลการศึกษาพบว่า 1) อุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ในประเทศไทยมีโครงสร้างตลาดอยู่ระหว่างตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาดค่อนไปทางตลาดผู้ขายน้อยราย โดยค่าการกระจุกตัวของดัชนีอัตราส่วนการกระจุกตัว(CR,)เท่ากับร้อยละ 78.90 ดัชนี HHI เท่ากับ 0.29 ดัชนี CCI เท่ากับ 0.572) บริษัทเมล็ดพันธุ์มีพฤติกรรมการแข่งขันด้านที่มิใช่ราคาเป็นสำคัญ โดยทุกบริษัทให้ความสำคัญ กับการวิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์ 3) ผลการดำเนินงานของบริษัทเมล็ดพันธุ์ส่วนใหญ่มีความสามารถในการทำกำไรและประสิทธิภาพในการดำเนินงานอยู่ในระดับสูง |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11647 |
Appears in Collections: | Econ-Theses |
This item is licensed under a Creative Commons License