Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11663
Title: ผลกระทบจาการใช้เทคโนโลยีการผลิตยางพาราต่อรายได้ของเกษตรกรชาวสวนยางปีการผลิต 2549 : กรณีศึกษาจังหวัดระยอง
Other Titles: The impact of technological use in rubber production to farmers' incomes in the crop year 2006 : a case study of Rayong Province
Authors: สมบัติ พันธวิศิษฏ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชมพูนุท โกสลากร เพิ่มพูนวิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิวัฒน์ชัย หนูทอง, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: เกษตรกร--ไทย--ระยอง--รายได้
ยางพารา--การผลิต--เทคโนโลยีที่เหมาะสม
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยทางสังคม และลักษณะการใช้เทคโนโลยีการผลิตยางพาราบางประการที่มีผลต่อปริมาณผลผลิตยางพารา (2) ศึกษาต้นทุนการผลิตและผลตอบแทนในการผลิตยางพาราแผ่นดิบ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ของการใช้เทคโนโลยีกับการเพิ่มขึ้นของปริมาณผลผลิต (4) ศึกษาความสัมพันธ์ของการใช้เทคโนโลยีกับคุณภาพยางแผ่นดิบที่ผลิตได้ (5) ศึกษาผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยีต่อปริมาณผลผลิตและคุณภาพของผลผลิตที่ส่งผลต่อรายได้ของเกษตรกร ผลการวิเคราะห์พบว่า ระดับการศึกษา ประสบการณ์การผลิต การรับรู้ข้อมูลข่าวสารพันธุ์ยาง ระบบการจ้าง และระบบกรีดยาง มีผลทำให้ปริมาณผลผลิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญโดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีต้นทุนการผลิตเท่ากับ 7,785.02 บาทต่อไร่ผลตอบแทนจากการผลิตเท่ากับ 18,097.04 บาทต่อไร่ กำไรสุทธิเท่ากับ 10,312.02 บาทต่อไร่ หรือต้นทุนและกำไรสุทธิเท่ากับ 30.10 และ 39.87 บาทต่อกิโลกรัม ตามลำดับ การใช้เทคโนโลยีที่กำหนดทำให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น และทำให้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพในสัดส่วนที่สูงกว่า และผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยีที่มีผลต่อการเพิ่มปริมาณผลผลิต และคุณภาพของผลผลิตส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11663
Appears in Collections:Econ-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
108759.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.36 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons