Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11665
Title: ผลกระทบของการท่องเที่ยวด้านเศรษฐกิจและสังคม : กรณีศึกษาจังหวัดกระบี่
Other Titles: The impact of tourism on the economic and social aspects : a case study of Krabi Province
Authors: มนูญ โต๊ะยามา
ปรียา บัวทองจันทร์, 2517-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
อ้อทิพย์ ราษฎ์นิยม
Keywords: อุตสาหกรรมท่องเที่ยว--ผลกระทบต่อสังคม--ไทย--กระบี่
อุตสาหกรรมท่องเที่ยว--ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ--ไทย--กระบี่
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะเศรษฐกิจ สังคมและการท่องเที่ยวของจังหวัดกระบี่ 2) ศึกษาผลกระทบของการท่องเที่ยวด้านเศรษฐกิจและสังคมของจังหวัดกระบี่ และ 3) วิเคราะห์เปรียบเทียบผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบของการท่องเที่ยวที่มีต่อทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมของจังหวัดกระบี่ ผลการศึกษาพบว่า 1) เศรษฐกิจของจังหวัดกระปี่โดยภาพรวมมีแนวโน้มที่ดีขึ้น สาเหตุหลักจากการขยายตัวของพืชเศรษฐกิจสำคัญในสาขาเกษตร ธุรกิจการค้าและการท่องเที่ยว มีเส้นทางคมนาคมที่สะดวกทั้ง 3 เส้นทาง มีสาธารณูปโภคที่เพียงพอ ปัญหายาเสพติดและอาชญากรรมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 การท่องเที่ยวขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะปีพ.ศ. 2545 - 2547 2) ผลกระทบด้านเศรษฐกิจด้านบวกที่อยู่ในระดับสูง ได้แก่ เกิดการสร้างงานสร้างอาชีพ(X= 3.91) การพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการ( = 3.86) เกิดการกระจายรายได้ไปยังส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว (X= 3.84) มีการซื้อที่ดินเพื่อใช้ในการลงทุนหรือขยายกิจการ(X=3.82) ตามลำดับ ส่วนผลกระทบด้านลบในระดับสูง ได้แก่ ปริมาณนักท่องเที่ยวมีผลต่อการกำหนดราคาสินค้าและบริการ( X = 3.92) ราคาที่ดินสูงขึ้นเนื่องจากมีการกว้านซื้อที่ดินเพื่อทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น(X = 3.85) ค่าครองชีพสูงขึ้น(X = 3.81) ตามลำดับ ผลกระทบทางด้านสังคมด้านบวกในระดับสูง ได้แก่ ผู้หญิงมีงานทำในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมากขึ้น (X= 3.87) มีการพัฒนาเส้นทางคมนาคม(X= 3.85) การบริการสาธารณูปโภคได้รับความสะดวก(= 3.85) ตามลำดับ ผลกระทบทางด้านลบในระดับสูง ได้แก่ เยาวชนมีค่านิยมของการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรเพิ่มมากขึ้น(X= 4.38) บริเวณเกาะและชายหาดมีการใช้ที่ดินเพื่อทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น(X = 4.24) ปริมาณขยะมูลฝอยเพิ่มขึ้น(X= 4.22) ตามลำดับ 3) กลุ่มผู้ประกอบการเห็นว่าผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจด้านบวกในระดับสูงได้แก่ การสร้างงานสร้างอาชีพ การพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการ เกิดการกระจายรายได้ไปยังส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว แต่ทางกลุ่มหัวหน้าครัวเรือนเห็นว่าได้รับผลกระทบด้านต่าง ๆ ดังกล่าวในระดับปานกลาง ส่วนผลกระทบทางเศรษฐกิจด้านลบที่กลุ่มผู้ประกอบการเห็นว่าส่งผลกระทบในระดับสูงคือ ปริมาณนักท่องเที่ยวมีผลต่อการกำหนดราคาสินค้าและบริการ ส่วนหัวหน้าครัวเรือนเห็นว่ามีผลกระทบในระดับสูง คือ ราคาที่ดินสูงขึ้นเนื่องจากมีการกว้านซื้อที่ดินเพื่อทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น สำหรับผลกระทบทางสังคมด้านบวกในระดับสูงที่ทางกลุ่มหัวหน้าครัวเรือนและผู้นำชุมชนกลุ่มการท่องเที่ยวทางทะเลได้รับ คือ การพัฒนาเส้นทางคมนาคม ส่วนหัวหน้าครัวเรือนและผู้นำชุมชนกลุ่มการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ได้รับคือผู้หญิงทำงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น สำหรับผลกระทบทางสังคมด้านลบกลุ่มหัวหน้าครัวเรือนและผู้นำชุมชนกลุ่มการท่องเที่ยวทางทะเลและหัวหน้าครัวเรือนและผู้นำชุมชนกลุ่มการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์เห็นว่าส่งผลกระทบในระดับสูงในประเด็นเดียวกัน คือ เยาวชนมีค่านิยมของการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรเพิ่มมากขึ้น
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11665
Appears in Collections:Econ-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
109997.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.58 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons