Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11680
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจุไร ทัพวงษ์th_TH
dc.contributor.authorศาศวัต ภูริภัสสรกุล, 2515-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2024-03-06T02:49:31Z-
dc.date.available2024-03-06T02:49:31Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11680-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลักอยู่ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาลักษณะทั่วไปของผู้มาใช้บริการสวนสุขภาพลัดโพธิ์ (2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมาใช้บริการสวนสุขภาพลัดโพธิ์ และ(3) ประเมินมูลค่าของผลประโยชน์ทางด้านนันทนาการของสวนสุขภาพลัดโพธิ์ในปี พ.ศ. 2550 โดยใช้วิธีการคิดต้นทุนในการเดินทางของบุคคล (The Individual Travel Cost Method : ITCM) เก็บข้อมูลโดยสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) จากผู้เข้ามาใช้บริการในสวนสุขภาพลัดโพธิ์ในช่วง4 -10 ตุลาคม พ.ศ. 2550 และตอบแบบสอบถามจำนวน 350 คน ผลการวิจัยพบว่า ผู้เข้ามาใช้บริการสวนสุขภาพลัดโพธิ์ร้อยละ 51.4 เป็นเพศชาย ร้อยละ 31.7 มีอายุในช่วง 21-30 ปี ร้อยละ 53.4 มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 40.9 มีการศึกษาระดับปริญญาตรี และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนเท่ากับ 13,742.86 บาท โดยร้อยละ 34 ใช้รถจักยานยนต์ส่วนตัวในการเดินทางมาสวนสุขภาพลัดโพธิ์ ร้อยละ 48.9 เดินทางมาพร้อมกับสมาชิกในครอบครัว ร้อยละ 54.3 มาวิ่งออกกำลังกาย ร้อยละ 41.1 มานั่งพักผ่อนหรือปิกนิก โดยมีความถี่ในการเข้ามาใช้บริการสวนสุขภาพลัดโพธิ์เท่ากับ 4.97 ครั้งต่อสัปดาห์และมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางเฉลี่ยต่อครั้งเท่ากับ 86.74 บาท โดยร้อยละ 34.6 ไปพักผ่อนที่สวนศรีนครเขื่อนขันธ์ร้อยละ 42.9 ไม่ไปพักผ่อนที่สวนสาธารณะอื่นทดแทนเลย ซึ่งเหตุผลในการมาใช้บริการร้อยละ 55.7 อยู่ใกล้บ้าน และผู้เข้ามาใช้บริการฯให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงสวนสุขภาพลัดโพธิ์ โดยร้อยละ 30 ต้องการให้เพิ่มเครื่องออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ ร้อยละ 26.6 ต้องการให้มีเครื่องเล่นสำหรับเด็ก ร้อยละ 25.1 ต้องการให้ปลูกต้นไม้ขนาดใหญ่เพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความร่มรื่น จากผลการวิเคราะห์โดยการคิดต้นทุนในการเดินทางส่วนบุคคล พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออัตราการเดินทางมาสวนสุขภาพลัดโพธิ์ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางและรายได้ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวทำให้ผลการประเมินมูลค่าทางนันทนาการของสวนสุขภาพลัดโพธิ์ในปี พ.ศ. 2550 มีค่าเท่ากับ 43,110,000 บาท จากผลการวิจัยนี้ กรมทางหลวงชนบทสามารถนำมูลค่าดังกล่าวไปเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานซ่อมบำรุงและดูแลรักษาสวนสุขภาพลัดโพธิ์ในแต่ละปี เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการจัดสรรงบประมาณ วางแผนปรับปรุงพัฒนาสวนสุขภาพลัดโพธิ์ให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้มาใช้บริการอีกทั้งยังสามารถใช้เป็นตัวอย่างในการประเมินความคุ้มค่าของการลงทุนก่อสร้างและการวางแผนพัฒนาสวนสาธารณะอื่น ๆ ของกรมทางหลวงชนบทได้อีกด้วยth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectกรมทางหลวงชนบทth_TH
dc.subjectนันทนาการ--ต้นทุนและประสิทธิผลth_TH
dc.subjectสวนสาธารณะ--ไทย--สมุทรปราการth_TH
dc.titleการประเมินมูลค่าด้านนันทนาการของสวนสาธารณะในกรมทางหลวงชนบท : กรณีศึกษาสวนสุขภาพลัดโพธิ์ จังหวัดสมุทรปราการth_TH
dc.title.alternativeAn evaluation of recreation value of public park in Department of Rural Roads : a case study of Sukkaparb Latpho Park Samut Phakarn Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.contributor.coadvisorอัญชนา ณ ระนองth_TH
Appears in Collections:Econ-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
114892.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.89 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons