Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11683
Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์การบริโภคน้ำผักผลไม้ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Factors affecting demand of fruit and vegetable juice of consumers in Bangkok Metropolis
Authors: สุภาสินี ตันติศรีสุข
กัณฐมณี สงข์ขำ, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
อรวินท์ เลาหรัชตนันท์
Keywords: ผู้บริโภค--ไทย--กรุงเทพฯ
น้ำผลไม้--ไทย--แง่เศรษฐกิจ
น้ำผัก--ไทย--แง่เศรษฐกิจ
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาวะทั่วไปของการบริโภคน้ำผักผลไม้ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาถึงปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์ต่อการบริโภคน้ำผักผลไม้ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร 3) ศึกษาความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อการบริโภคน้ำผักผลไม้ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร 4) ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคน้ำผักผลไม้ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร 5) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการบริโภคน้ำผักผลไม้ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาพบว่า 1) ในช่วงปี พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2551 การบริโภคน้ำผักผลไม้ในประเทศไทยรวมทั้งสิ้นเฉลี่ยประมาณ 24,925.90 ตันต่อปี อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครเฉลี่ยประมาณ 5,059.88 ตันต่อปีหรือประมาณร้อยละ 21 และในส่วนภูมิภาคเฉลี่ยประมาณ 19,866.02 ตันต่อปีหรือประมาณร้อยละ 79 ของการบริโภคน้ำผักผลไม้ทั่วประเทศ ผู้บริโภคน้ำผักผลไม้ในกรุงเทพมหานครจากกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุอยู่ระหว่าง 20-29 ปี มีสถานภาพโสด การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์การบริโภคน้ำผักผลไม้ที่สำคัญ ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน อาชีพ อายุ ราคาน้ำผักผลไม้ และรสนิยมของผู้บริโภคน้ำผักผลไม้ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 ตามลำดับ โดยระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน อายุ ราคาน้ำผักผลไม้ และรสนิยมของผู้บริโภคน้ำผักผลไม้ มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับอุปสงค์น้ำผักผลไม้ ส่วนเพศและอาชีพ มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงข้ามกับอุปสงค์ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์ทุกตัวแปรมีความสัมพันธ์ที่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ยกเว้นราคาน้ำผักผลไม้ไม่สอดคล้องกับสมมติฐาน 3) ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาเท่ากับ 0.227 และความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้เท่ากับ 0.617 4) พฤติกรรมการบริโภคน้ำผักผลไม้ของผู้บริโภค นิยมบริโภคน้ำส้ม ดื่มเพื่อสุขภาพ บริโภค 1-2 วัน/สัปดาห์ ความเข้มข้น 100% วัตถุประสงค์ที่ซื้อเพื่อดื่มเอง แบบบรรจุกล่อง ขนาด 200-330 ซีซี 5) ปัญหาที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ น้ำผักผลไม้มีการเจือสี แต่งกลิ่นและใส่สารกันบูด และน้ำผักผลไม้มีราคาสูง อุปสรรคสำคัญของการบริโภคน้ำผักผลไม้ในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ การโฆษณาและประชาสัมพันธ์ในการดื่มน้ำผักผลไม้น้อยกว่าเครื่องดื่มชนิดอื่น การกระคุ้นการบริโภคยังมีน้อย น้ำผักผลไม้ส่วนใหญ่มีจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้ามากกว่าร้านค้าทั่วไปทำให้การกระจายสินค้ายังไม่ทั่วถึง
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11683
Appears in Collections:Econ-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
114898.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.54 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons