Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11855
Title: | ความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจยา กรณีศึกษา บริษัทไทยเมจิฟาร์มาซิวติคัล จำกัด |
Other Titles: | Competency study of pharmaceutical business case study : Thai Meiji pharmaceutical company limited |
Authors: | ธนชัย ยมจินดา รุ่งทิวา เกียรติวุฒินนท์, 2516- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ การแข่งขันทางการค้า ธุรกิจยา--ความสามารถในการแข่งขัน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาเชิงสำรวจครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาถึงความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันของกิจการทั้งในปัจจุบัน และอนาคต (2) เพื่อศึกษาแนวคิดของพนักงานต่อปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันของกิจการทั้งที่ปฏิบัติจริงในปัจจุบันและในอนาคต เนื่องจากธุรกิจยามีการแข่งขันที่เข้มข้นรุนแรง องค์กรจึงต้องมีการปรับตัวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการให้เกิดความสามารถที่พร้อมในการแข่งขันอย่างรอบด้าน กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานในส่วนของสำนักงาน จำนวน 50 คน ของบริษัทไทยเมจิฟาร์มาซิวติคัล จำกัด เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบหลายตัวเลือกสำหรับข้อมูลลักษณะส่วนบุคคล แบบสอบถามมาตรประมาณค่าเกี่ยวกับระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันในปัจจุบัน และอนาคต และแบบสอบถามปลายเปีดสำหรับข้อเสนอแนะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ซึ่งกำหนดระดับความเชื่อมั่นที่ระดับ 0.95 ผลการศึกษาพบว่า พนักงานทุกคนเห็นด้วยกับปัจจัยทางด้านการตลาด, วิสัยทัศน์, วัฒนธรรมองค์กร, การผลิตและบริการ, กลยุทธ์การแข่งขัน, เทคโนโลยีสารสนเทศ, การตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้า, การเรียนรู้และพัฒนา, คุณภาพและการควบคุมและไม่แน่ใจกับปัจจัยทางด้านบรรยากาศในการทำงาน, ทักษะทางการบริหารและกาวะผู้นำ, การบริหารการเงินและต้นทุน, โครงสร้างองค์กร, การวิจัยและพัฒนาว่าได้มีการใช้และปฏิบัติจริงในปัจจุบัน ส่วนในอนาคตนั้นได้ ให้ความเห็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างชัดเจนว่า ปัจจัยทุกด้านจะก่อให้เกิดความสามารถในอนาคตยกเว้นเพียงปัจจัยด้านโครงสร้างองค์กรเพียงปัจจัยเดียวเท่านั้น ที่พนักงานมีความเห็นต่างไปในระดับไม่แน่ใจ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11855 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
This item is licensed under a Creative Commons License