Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11856
Title: ความคิดเห็นของผู้ป่วยนอกต่อการให้บริการจากห้องจ่ายยาโรงพยาบาลบางพลี
Other Titles: The opinion of out patient toward pharmacy department's service in Bangplee Hospital
Authors: ยุทธนา ธรรมเจริญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
รุ่งทิพย์ ช่างกลึงเหมาะ, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: บริการการพยาบาลของโรงพยาบาล
โรงพยาบาลบางพลี
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ป่วยนอกที่มีต่อการให้บริการจาก ห้องจ่ายยาโรงพยาบาลบางพลีจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยมีสมมุติฐานการวิจัยคือ ความคิดเห็นของผู้ป่วย นอกต่อการให้บริการจากห้องจ่ายยาโรงพยาบาลบางพลี แตกต่างกันตามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ อายุ รายได้ และ สิทธิการรักษาการวิจัยนี้ใช้วิธีการสำรวจ ประชากรคือผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลบางพลี กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยนอกที่มารับบริการจากห้องง่ายยา โรงพยาบาลบางพลี ที่มีอายุ เ5 ปี ขึ้นไป ที่สามารถอ่านหนังสือได้ ใน ระหว่างวันที่ 1 - 30 กันยายน 2550 ในวันเวลาราชการ ช่วงเวลา 8.00 - 16.00 น. เลือกตัวอย่างอย่างเป็นระบบ โดยใช้เลขประจำตัวผู้ป่วยที่ลงท้ายด้วยเลขคู่(0,2,4.6,8) จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 378 ตัวอย่างโดยใช้ แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย การประมวลผลการวิจัยใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 59.5 และเพศชาย ร้อยละ 40.5 มี อายุ 31 -45 ปี คือ ร้อยละ 37.6 มีสถานภาพการสมรสโดยสมรสแล้ว ร้อยละ 66.9 มีระดับการศึกษาประถมศึกษาร้อยละ 37.8 มีอาชีพรับจ้างลูกจ้าง ร้อยละ 35.7 มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท ร้อยละ 40.2 และส่วนใหญ่ใช้สิทธิการรักษาด้วยบัตรทอง 30 บาท ร้อยละ 47.4 ผู้ป่วยนอกมีความคิดเห็นต่อการให้บริการ ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นผู้ป่วยนอกที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็นต่อการให้บริการเรื่องความรวดเร็ว ถูกต้องแตกต่างกัน และอายุของผู้ป่วยนอกที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการให้บริการด้านการให้บริการอย่างเพียงพอ (เช่น เก้าอี้สำหรับนั่งคอยจุดบริการน้ำดื่ม โทรศัพท์สาธารณะ) แตกต่างกัน และผู้ป่วยนอกที่มีรายได้แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการให้บริการด้านบุคลากร (ความรู้ มีความสามารถในการสื่อสารกับผู้รับบริการ ให้ดำแนะนำการใช้ยาที่ชัดเจนทำให้ได้รับคำตอบในข้อสงสัยได้ และการให้บริการอย่างมีมนุษยสัมพันธ์ สุภาพ อ่อนน้อม)แตกต่างกัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11856
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
112980.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.02 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons