Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11924
Title: การพัฒนาคุณภาพข้าวสู่มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรในจังหวัดมุกดาหาร
Other Titles: Development of rice quality to good agricultural practice standards of farmers in Mukdahan Province
Authors: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
พลสราญ สราญรมย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุวิทย์ เพ็งแก้ว, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ข้าว--มาตรฐาน--ไทย--มุกดาหาร
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สภาพทางสังคม และสภาพทางเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) ความรู้และแหล่งความรู้เกี่ยวกับการผลิตข้าวตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร (3) การผลิตข้าวตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร (4) ความคิดเห็นความต้องการส่งเสริมของเกษตรกรสู่มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี และ (5) ปัญหา ข้อเสนอแนะและแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพข้าวสู่มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร ประชากร คือ เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณสินค้าเกษตรสู่มาตรฐาน GAP ใน 3 อำเภอของจังหวัดมุกดาหาร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 จำนวน 300 ราย กำหนดกลุ่มตัวอย่าง 145 ราย ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์โดยใช้สถิติพรรณนาได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการจัดลำดับ ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 55.70 ปี จบระดับการศึกษาชั้นประถมศึกษามากที่สุด จำนวนสมาชิกครัวเรือนเฉลี่ย 3.80 คน ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มลูกค้า ธกส. และไม่มีตำแหน่งทางสังคม แรงงานทำการเกษตรในครัวเรือน เฉลี่ย 2.76 คน แรงงานจ้างภาคเกษตรในครัวเรือน เฉลี่ย 1.63 คน พื้นที่ถือครองเป็นของตนเองทั้งหมด เฉลี่ย 15.71 ไร่ พื้นที่เข้าร่วมโครงการ เฉลี่ย 7.81 ไร่ รายได้ในครัวเรือนทั้งภาคเกษตรและนอกภาคเกษตรเฉลี่ย 64,694 บาทต่อปี หนี้สินของครัวเรือนส่วนใหญ่จาก ธกส. (2) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพข้าวสู่มาตรฐาน GAP ภาพรวมในระดับมาก เกษตรกรได้รับความรู้จากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในระดับมากที่สุด (3) เกษตรกรทั้งหมด ปลูกข้าวอาศัยน้ำฝน มีการเตรียมดินโดยไถ 2 ครั้ง และคราด 1 ครั้ง ร้อยละ 89.7 ทำนาหว่าน ร้อยละ 62.1 ปลูกข้าวพันธุ์ กข 6 ร้อยละ 86.2 ใช้แรงงานคนและเครื่องเกี่ยวนวด ผลผลิตข้าวหลังเข้าร่วมโครงการเฉลี่ย 445.03 กิโลกรัมต่อไร่ รายได้จากการขายข้าว หลังเข้าร่วมโครงการ เฉลี่ย 32,433 บาท (4) เกษตรกรมีความคิดเห็นและมีความต้องการเกี่ยวกับการปลูกข้าวตามมาตรฐาน GAP โดยภาพรวมทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด โดยความคิดเห็นด้านการพัฒนาคุณภาพข้าวสู่มาตรฐาน GAP อยู่ในระดับมาก ความคิดเห็นด้านการส่งเสริมการผลิตข้าวสู่มาตรฐาน GAP อยู่ในระดับมาก ความคิดเห็นต่อแรงจูงใจในการผลิตข้าวตามมาตรฐาน GAP อยู่ในระดับมากที่สุด ความคิดเห็นด้านความต้องการส่งเสริมของเกษตรกรด้านความรู้ในการผลิตข้าวตามมาตรฐาน GAP อยู่ในระดับมากที่สุด และความคิดเห็นด้านความต้องการของเกษตรกรด้านวิธีส่งเสริม อยู่ในระดับมากที่สุด (5) เกษตรกรส่วนใหญ่มีปัญหาขาดเงินทุนในการผลิตข้าว เนื่องจากต้นทุนในการผลิตข้าวค่อนข้างสูง และเกษตรกรขาดการฝึกปฏิบัติและการสาธิต มีข้อเสนอแนะหน่วยงานภาครัฐควรสนับสนุนปัจจัยการผลิตที่จำเป็นอย่างเพียงพอและควรฝึกภาคปฏิบัติทุกขั้นตอนตามหลักปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี เพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิบัติจริง
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11924
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.69 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons