Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11991
Title: สภาพการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของบริษัทอิคาริ เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด
Other Titles: State of being a learning organization of Ikari Trading (Thailand) Co.,Ltd.
Authors: จีราภรณ์ สุธัมมสภา
รัตติกร ชุตินันทกุล, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: บริษัทอิคาริ เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด
การเรียนรู้
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับความคิดเห็นของผู้บริหารและพนักงานต่อการเป็นองค์กรแห่งเรียนรู้ของบริษัท อิคาริ เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด (2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของบริษัท อิคาริ เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ประชากรที่ใช้ในการศึกษากันคว้านี้ ได้แก่ พนักงานในบริษัท อิคาริ เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด จำนวนทั้งหมด 52 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ สัมภาษณ์ผู้บริหารและกรอก แบบสอบถามโดยพนักงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ประชากร ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับความคิดเห็นของผู้บริหารและพนักงานของบริษัท อิคาริเทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัดต่อการเป็นองค์กรแห่งเรียนรู้อยู่ในระดับมากในทุกๆ ด้าน โดยอันดับที่ 1คือ การเรียนรู้เป็นทีม อันดับที่ 2 เท่ากันสองด้าน คือ การเป็นบุคคลที่รอบรู้และการมีวิสัยทัศน์ร่วม อันดับต่อมา คือ การคิดอย่างเป็นระบบ และอันดับสุดท้ายคือการมีแบบแผนความคิด (2) ปัญหาและอุปสรรคของการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของบริษัท อิคาริ เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด พบว่าปัญหาและอุปสรรคที่มีความคิดเห็นมากที่สุด คือ ขาดการประสานงานระหว่างการทำงาน รองลงมา คือ ความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันของบุคลากรภายในและช่องทางและเวลาในการเรียนรู้ยังไม่เพียงพอ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11991
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
129859.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.03 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons