Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12046
Title: | ความต้องการของครูต่อบทบาทในการส่งเสริมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 |
Other Titles: | Needs of teachers for the roles on promotion of professional learning community of school administrators under Rayong Primary Education Service Area Office 1 |
Authors: | อรรณพ จีนะวัฒน์ วรรณภา เออชูชื่น, 2534- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ--ไทย--ระยอง การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความต้องการของครูต่อบทบาทในการส่งเสริมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 และ (2) เปรียบเทียบระดับความต้องการของครูต่อบทบาทในการส่งเสริมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 จำแนกตามขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยองเขต 1 ปีการศึกษา 2563 จานวน 337 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับ ความต้องการของครูต่อบทบาทในการส่งเสริมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของผู้บริหารโรงเรียน มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทำการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ระดับความต้องการของครูต่อบทบาทในการส่งเสริมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 โดยภาพรวม มีความต้องการในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับความต้องการจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการตรวจสอบความก้าวหน้า ด้านการสร้างบรรยากาศและบริบทของการเปลี่ยนแปลง ด้านการพัฒนาและสื่อสารวิสัยทัศน์ร่วมเพื่อการเปลี่ยนแปลง ด้านการวางแผนและจัดการทรัพยากร ด้านการสนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพครู และด้านการให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง และ (2) ครูที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงเรียนขนาดต่างกันมีความต้องการต่อบทบาทในการส่งเสริมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของผู้บริหารโรงเรียนแตกต่างกันทั้งโดยภาพรวมและรายด้านทุกด้าน โดยครูโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษมีระดับความต้องการแตกต่างจากขนาดอื่นโดยมีความต้องการน้อยกว่า ส่วนครูโรงเรียนขนาดเล็ก กลางและใหญ่มีความต้องการไม่แตกต่างกัน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12046 |
Appears in Collections: | Edu-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 17.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License