Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12051
Title: การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการบุคลากร : กรณีศึกษาศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคตะวันตก
Other Titles: Dynamic feature selection for optimization of decision tree classification based on multi-target conditions
Authors: สำรวย กมลายุตต์, อาจารย์ที่ปรึกษา
วฤษาย์ ร่มสายหยุด, อาจารย์ที่ปรึกษา
ตระการศักดิ์ แพไธสง, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการบุคลากรของศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคตะวันตก โดยมีผู้ใช้งานระบบสารสนเทศ จำนวน 30 คน ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 9 คน เจ้าหน้าที่บุคลากร จำนวน 2 คน เจ้าหน้าที่ทั่วไป จำนวน 17 คน และผู้ดูแลระบบ จำนวน 2 คน ระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นครอบคลุมข้อมูลประวัติบุคลากร ข้อมูลการเข้า-ออกงานและการลา ข้อมูลการฝึกอบรมบุคลากร และข้อมูลการประเมินผลการปฏิบัติงาน วิธีการพัฒนาระบบสารสนเทศใช้หลักการของวงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ เริ่มจากการศึกษาเบื้องต้น โดยสัมภาษณ์ผู้บริหาร จำนวน 5 คน เจ้าหน้าที่บุคลากร จำนวน 2 คน และเจ้าหน้าที่ทั่วไป จำนวน 4 คน เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการในการพัฒนาระบบสารสนเทศ จากนั้นวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศ ซึ่งประกอบด้วยเมนูหลัก 7 เมนู ได้แก่ การล็อกอินเข้าระบบ การจัดการข้อมูลพื้นฐาน การจัดทำทะเบียนประวัติบุคลากร การจัดการข้อมูลการเข้า-ออกงาน การจัดทำข้อมูลการฝึกอบรมบุคลากร การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการค้นคืนข้อมูลและจัดทำรายงาน โปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศ คือ โปรแกรม Microsoft Access 2016 ภายใต้ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows 10 ฐานข้อมูลติดตั้งไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งทำงานอยู่บนโปรแกรม Windows Server 2008 R2 Enterprise ระบบทำงานในลักษณะ Server-Client Application ผู้ใช้งานภายในองค์การสามารถใช้งานเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายภายในเท่านั้น ผลการวิจัยนี้ทำให้ได้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการบุคลากรที่สามารถบันทึก แก้ไข ค้นหาข้อมูล และจัดทำรายงานที่เกี่ยวข้องกับบุคลากร เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านการบริหารงานบุคคลได้อย่างสะดวก และมีประสิทธิภาพ จากการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อระบบสารสนเทศทั้งหมด 4 ด้าน พบว่าผู้ใช้งานส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในทุกด้านอยู่ในระดับดี
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.(สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12051
Appears in Collections:Arts-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม27.26 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons